วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

กับดักเทรดเดอร์

 
ความต้องการทำกำไรทุกครั้งที่เท​รด มันก็แหงนะสิครับ!@#$ ถ้าคิดว่าจะขาดทุนแล้วจะซื้อทำไม. พูดอีกก็ถูกอีก ผมมีโอกาสสอนกลุ่มเรียนรู้มาหลา​ยกลุ่ม และเจอคำถาม classic กับทุกรุ่นคือ ซื้อไม้นี้จะกำไรมั้ยคะ? ถ้าผมตอบว่ามันน่าจะไปนะ น่าจะเป็น Trend ก็จะเจอคำถามต่อยอด แล้วจะไปถึงเท่าไร? คนตอบจะอึดอัดใจมาก เพราะไม่มีใครรู้หรอก เป็นเพียงการคาดการณ์เท่านั้น หากตอบไป มันจะไปสร้างฝันให้กับเขาว่าซื้​อไม้นี้แล้วจะกำไรเท่านั้นเท่าน​ี้ ฯลฯ แต่ความคิดแบบนี้มันเป็นปัญหามา​ก. เพราะมันได้สร้างความ "ยึดติด" ว่าการเทรดครั้งนี้ฉัน "ควร" ได้กำไร แปลย้อนกลับไปได้อีกว่า ฉันต้อง "ไม่ขาดทุน" และความรู้สึก "ต้องไม่ขาดทุน" นี่สิ อันตรายมากๆ. มันทำให้แผน/กลยุทธ์การลงทุนที่​วางไว้พังหมด. เพราะคุณเริ่มต่อรองกับภาพที่เห​็นในตลาด. เราโดน SL แล้วราคาทำ low แล้ว เฮ้ย! แต่มันอาจเป็น Bear trap ก็ได้. แบบนี้ถือไว้ก่อน ถ้าเกิด Bear trap จริง เราก็จะเสียโอกาส คิดไปต่างๆ นาๆ แทนที่โดน SL แล้วจะหนีออกมาก่อน. ตั้งหลักดูจังหวะใหม่ กลายเป็นกอดหุ้น รอให้มัน "ขึ้นมากำไร" เสียก่อนแล้วค่อยออก. หลายๆ คนก็ติดหุ้นยาวไปเลย. กลายเป็น De-value investor ไป. 

Value investment หรือ VI คือการลงทุนที่เน้นหุ้นที่มีมูล​ค่า มี Growth potential แต่ De-value investment คือการติดหุ้นที่ไม่มีมูลค่า มีแต่ลดค่า. หรืออาจเรียกได้ว่าอยู่ในระยะที​่ "รอให้มันขึ้นมากำไรก่อน แล้วค่อยขาย" 555

การลงทุนกับการคาดการณ์ (Forecast) และการสร้างสมมุติฐานต่างๆ มันเป็นของคู่กัน แม้กระทั่งกฏเหล็กของ Dow theory ก็คือสมมุติฐานที่เกิดจากข้อสัง​เกตุนั่นเอง คู่กันแต่ก็ต้องไม่สร้างมานะที่​คิดว่ามันเป็นสิ่งเดียวกัน จะ Forecast ไปอย่างไรก็ได้ก็ตามแนวที่เรียน​มา แต่มันก็ต้อง confirm ด้วยภาพที่เกิดขึ้นจริงเท่านั้น​. การเทรดบนฐานของ Technical และ CDC นั้น ไม่ว่าจะนับเวฟอย่างไร. ในการเข้าซื้อจริงนั้น ก็ต้องอาศัย Trigger ที่เกิดจากพฤติกรรมราคาจริงเท่า​นั้น. ไม่ใช่มองว่าจุดนี้ต่ำสุดแล้วซ์​้อเลย โดยที่ยังไม่มี reversal pattern ให้เห็นอย่างชัดเจน. การเทรดทุกครั้งมีการวาง Stoploss ให้ชัดเจนก่อน. ส่วนกำไร ถ้ามันถูกทางจริง เดี๋ยวมันก็กำไรเอง. เหมือนกับที่ฝรั่งเขาพูดว่า "Take care of your losses and the profit will take care of itself." หากหลุดพ้นความยึดมั่นถือมั่นว่​าเทรดไม้นี้ต้องกำไรเท่านั้นเท่​านี้ แรงกดดันมันก็ไม่เกิด. ไม่ว่าราคาจะไปทางไหน เราก็ยังรักษาวินัย เดินตามแผนที่วางไว้ได้อย่างไม่​ไหวหวั่น

ทุกอย่างมันสัมพันธ์กันหมด. Technical ทำตามได้ดี อาศัยการวางเงินที่ดีด้วย การปั้น Port ให้โต มันทำกันที่ Money management ไม่ใช่เฝ้า chart (แต่ว่าจะเชื่อและทำตามข้อนี้ได​้ เผชิญเยอะเหมือนกันนะ) ฉะนั้นไม่ต้องกำไรทุกไม้ Port ก็โตได้




กับดักเทรดเดอร์ #2: The sky is falling

by Thamrongchai Eakamornwong on Tuesday, 09 August 2011 at 09:30
ตื่น มาเช้านี้กับ Hang Seng Index ที่ร่วงไปกว่า 1,500 จุด ยังไม่ได้อ่านข่าวอะไร แต่น่าจะเป็นวันที่ Index เขาร่วงหนักสุดวันหนึ่งของเขา. SET บ้านเราคงไม่หนีกันเท่าไร. เมื่อวานผมก็สังเกตุเห็นแล้วว่า Emini S&P ท่าไม่ดี แต่ก็ยังเฉยๆ รู้สึกลงแรง แต่ไม่ได้รู้สึกน่ากลัวอะไร. คงเพราะว่าไม่ได้ถือ Futures แล้ว มีหุ้นอยู่นิดหน่อย (และยังกำไรอยู่) เลยฉุกคิดได้ว่าเพราะเรามีหุ้นในมือน้อย เราเลยเฉยๆ. แต่ถ้าเราถือ Long position ไว้เต็ม port ป่านนี้คงนั่งไม่ติดเก้าอี้แล้ว. ผมคิดว่าตลาดมันมี Rally และ Panic สลับกันไป. และก็จะเป็นอย่างนี้ไปตลอด. มันเป็นธรรมชาติของมันแบบนั้น แต่การที่ความเคลื่อนไหวของราคามันมากระทบใจเรานี่ต่างหาก ผูกกับอารมณ์หน่วงๆ ในกำไรที่ไม่ได้เป็นของเราใน port (ซื้อแล้วยังไม่ปิดสถานะมันยังไม่กำไรหรอกนะ) มันไปสร้างความกลัว อารมณ์หวาดผวา.. นี่ก็อีกปัญหา classic

พออารมณ์หวาดผวา (Panic) เข้ามาแล้วนะ. หุ้นดี หุ้นเน่า (หุ้นที่ซื้อเมื่อวานและกะเล่นเด้ง) เราจะปล่อยของหนีหมด. ทันทีนึกถึงคำครู เขาว่าต้องมี Stoploss ป้องกันความเสียหาย. หุ้นบางตัว Stop ไปตั้งแต่อาทิตย์ที่แล้ว หุ้นบางตัวยังไม่โดน Stop ไม่เป็นไร. ล้าง port เคลียร์ของออกไปก่อน. อ้างทฤษฏี/หลักการ รักษาเงินที่เหลือไว้ กำขี้ดีกว่ากำตดก็ขึ้นมาทันที. ตลาดจะย่อลงต่ออีกเยอะเปล่าก็ไม่รู้ แต่ที่รู้คือเมื่อ นลท. อยู่ในภาวะหวาดผวา เวลา Stop ก็ทำไปบนฐานที่อารมณ์ตลาดมันพาไป. พอตลาดเริ่ม Rally ก็ซื้อไปฐานที่อารมณ์ตลาดมันพาไป สรุป: โดยไม่รู้ตัวก็กลายเป็น Zombie ของวิญญาณแมงเม่าทันที ทำไมต้องมี Zombie วิญญาณแมงเม่า เพราะแมงเม่าโดนจัดหนัก ตายเรียบทุกงาน. เหลือเพียงวิญญาณที่มาเข้าสิงเหยื่อรายต่อไปเท่านั้น อะนะ แร๊งส์.....

แก้ ยาก จะไม่ให้เป็นทาสอารมณ์ตลาด เราต้องเอาอารมณ์ออกจากการเทรด. วิธีที่จับต้องได้และทำได้จริงคือเรานำ "ระบบ" มาใช้ จะสร้างบ้านสักหลังเขายังต้องวาดผังบ้าน. การเทรดก็เหมือนกัน จะต้องวาดแผนการเทรดมาให้ละเอียด. การเทรดให้รอดในระยะยาววางอยู่บน concept ง่ายๆ 2 ข้อคือ: i) ผิดทางมี Stoploss และ ii) ถูกทาง Let profit run และต่อยอดจากจุดนั้น ควรวางเงินในหุ้น ใน Futures เป็นสัดส่วนเท่าไร. วาง Risk exposure เราไว้อย่างไร, เรารับ Drawdown ได้ "จริง" แค่ไหน. เรื่องนี้ใครๆ ก็รู้ แต่น้อยคนยอมทำจริง. เป็นเรื่องที่พูดง่าย แต่ในการฝึกฝนจริง อาจต้องทำกันทั้งชีวิต. ยังไงก็ดีใคร Panic ปล่อยเขา Panic ไป ขอให้ทุกท่านเอาตัวรอดจากตลาดได้อย่างมีสตินะครับ

วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

แนวคิดการลงทุน ดร.นิเวศน์

"ธุรกิจแข็งแกร่ง ได้เปรียบสูง คู่แข่งสู้ไม่ได้ อนาคตเติบโต"

ดู ถ้าอุตสาหกรรมดี กิจการอยู่ตำแหน่งไหน  อยู่ลำดับต้นๆ ของอุตสาหกรรม ดูพวกที่ไม่เป็นตัวเลขก่อน  หากดีจึงไปดูตัวเลข ถ้าดูตัวเลขก่อน จะถูกล้างสมองหมด

"หากกิจการดี ตัวเลขจะคอนเฟริม กำไรต่อยอดขายต้องเพิ่มขึ้นทุกปี"

"หุ้นของผมอาจจะต้องเป็นหุ้นที่  “โต”  หรือโตเร็ว  หุ้นที่กิจการไม่โตหรือจะเล็กลงในอนาคตผมจะตัดออก "

"เวลาซื้อหุ้นพื้นฐานดีๆ แล้วหุ้นลง ถ้าคิดว่าเราวิเคราะห์ถูกแล้วมั่นใจ ก็ซื้อเพิ่มได้ แต่ทีนี้บางครั้งหากมันลงแล้วเรารีบซื้อ ซึ่งผลประกอบการเรายังไม่เห็นเพิ่ม มันอาจถึงเวลาว่า ตอนนั้นผลประกอบการไม่ได้เติบโตอย่างที่เราคิด (หรือมันเติบโตถึงที่สุดแล้ว) ผ่านไปแล้วไตรมาสหนึ่งก็ไม่ดี ไตรมาสต่อไปก็ไม่ดี เราจึงอาจคิดผิด การเข้าไปซื้อเพิ่มจะทำให้เราขาดทุนมากไปอีก โดยปกติจะรอดูผลประกอบการไตรมาสต่อมาก่อน หากมันดีจึงซื้อเพิ่มตอนนั้น ดังนั้นต้องดูพื้นฐานประกอบ ไม่ใช่ดูว่าราคาหุ้นมันลงแล้วจึงซื้อเพิ่ม นอกจากเราเห็นว่าพื้นฐานมันดีจริง ที่หุ้นมันลงเพราะมาจากเหตุผลอื่น"

"เวลาดูหุ้นขึ้น ดูที่ปริมาณการซื้อขาย ว่าเป็นไปตามธรรมชาติหรือไม่ ถ้าหุ้นขึ้นหรือลงด้วยปริมาณการซื้อขายที่มาก ราคาหุ้นก็อาจจะสูงหรือต่ำกว่าปกติ ถ้าหุ้นขึ้นด้วยพื้นฐานที่รองรับตลอด ใช้เวลาระยะหนึ่ง ไม่ใช่ขึ้นอย่างรวดเร็ว กำไรเติบโต มั่นคง ปริมาณการซื้อขายปกติไม่มีการเกร็งกำไรเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่มากหรือน้อยเกินไป ก็ซื้อเพิ่มได้ ไม่ใช่หุ้นที่ไม่มีสภาพคล่องซื้อนิดเดียวราคาก็ขึ้น หรือมีแรงซื้อเข้ามามากๆ แรงเกร็งกำไรมาก ทำให้ราคาอาจผิดธรรมชาติ (เน้นดูโวลุ่ม)"

"จะซื้อก่อนหรือหลังปันผลก็ได้"

"เมื่อซื้อหุ้นโตเร็ว ถึงวันที่เติบโตช้าลง หรือธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลง อย่างเช่นธุรกิจสิ่งพิมพ์ เมื่อมีเทคโนโลยีเข้ามาอาจมีผลกระทบต่อธุรกิจได้ จะขายก็ให้ดูที่พื้นฐาน"

"ถ้าโวลุ่มมาแต่ผลประกอบการไม่มา อาจเป็นเพราะคนคาดการผลประกอบการสดใสเกินไป แต่ถ้าหากผลประกอบการมาด้วย(กำไร) ก็อาจมีบางช่วงที่โวลุ่มมาก คนเริ่มเห็น แต่ก็มีซักระยะหนึ่งก็เริ่มอยู่ตัว ก็ไม่มาเกร็งกำไรแล้ว"






ปีเตอร์ ลินซ์

ข้อมูลจาก thaihoon 
ที่มา : sienhoon.com
http://www.sarut-homesite.net/
http://www.facebook.com/notes/thailand-investment-forum/

นักลงทุนในยุคหลังๆ อาจจะลืมชื่อนี้ไปบ้างแต่ถ้าใครติดตามความเคลื่อนไหวในวงการหุ้น โดยเฉพาะที่สหรัฐ ในช่วง 10 ปีก่อนโดยประมาณ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า คนคนนี้ดังมากๆ และได้ชื่อว่าเป็นผู้จัดการกองทุนที่ทำเงินในตลาดหุ้นได้มากที่สุดคนหนึ่ง โดยในช่วงหลังๆ ถ้าผมจำไม่ผิดรู้สึกจะล้างมือในอ่างทองคำ (เลิกบริหารกองทุน) และไปเป็นอาจารย์สอนหนังสือ

ปีเตอร์ ลินซ์ นับว่าเป็นคนที่ทำงานหนักมาก และจริงๆ จังๆ คนหนึ่งใบหน้าและลักษณะท่าทางของเขามักจะแก่เกินอายุจริง ผมที่หงอกสะท้อนถึงการใช้ความคิดที่มากกว่าบุคคลทั่วไป และไม่แปลกอะไรการที่เขาจะตัดสินใจลงทุนในหุ้นตัวใดตัวหนึ่งเขาต้องเข้าไปรู้ให้ซึ้งถึงกิจการนั้นๆ ด้วยตัวเขาเอง 

ปีเตอร์ ลินซ์ ได้แต่งหนังสือหลายเล่ม แต่เล่มที่ขายดีและโด่งดังเล่มหนึ่งชื่อ ONE UP ON WALL STREET ซึ่งในหนังสือเล่มนี้เขาได้แบ่งกลยุทธ์ในการลงหุ้นไว้อยู่ 6 วิธีใหญ่ๆ โดยมีการคัดเลือกตามกลุ่มหุ้น และในส่วนตัวของผมคิดว่าน่าสนใจและมีแนวคิดที่น่าจะเอาอย่าง 

1. The Slow Growers หรือ น่าจะเรียกคำจำกัดความง่ายๆ เป็นภาษาไทยได้ว่า "หุ้นค่อยๆ โต" หรือ"หุ้นโตช้า" ท่านผู้อ่านถ้าใครนึกถึงวัฏจักรธุรกิจได้ที่มีอยู่ 4 ระดับ คือ เริ่มต้น, เติบโต, คงที่ และถดถอย ก็ต้องบอกว่าหุ้น The Slow Growers อยู่ในขั้นตอนการคงที่ ซึ่งโดยลักษณะก็คือ บริษัทเรานี้จะเติบโตเพียงเล็กน้อย แต่อาจจะมีปันผลที่อยู่ในขั้นที่ค่อนข้างสูง เนื่องจากบริษัทเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องอาศัยเงินไปขยายกิจการแล้ว 

ปีเตอร์ ลินซ์ แนะนำว่า หุ้นเหล่านี้ไม่มีอะไรที่น่าสนใจในการลงทุนเพราะจุดเด่นของกิจการหมดไปแล้ว 

2. The Stalwarts ค่อนข้างใกล้เคียงกับ The Slow Growers แต่จะแตกต่างเล็กน้อยว่า บริษัทเหล่านี้เป็นบริษัทขนาดใหญ่ แต่การเจริญเติบโตค่อนข้างคงที่ คือ เฉลี่ยต่อปีประมาณ 10% โดยการเคลื่อนไหวราคาหุ้นในกลุ่มนี้มักจะไม่แบนราบเสียทีเดียวแต่ก็จะไม่เคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว 

ปีเตอร์ ลินซ์ แนะนำว่า การเข้าซื้อหุ้นในบริษัทเช่นนี้ ควรเข้าซื้อในช่วงหุ้นตกหรือเกิดวิกฤตการณ์ เนื่องจากบริษัทแบบนี้จะไม่ล้มหายตายไปไหน ผมคิดๆ ดูแล้ว ค่อนข้างเหมาะสมในภาวะตลาดหุ้นไทยในปัจจุบันที่ยังอยู่ภาวะที่ไม่ค่อยดี ซึ่งในกลยุทธ์เพิ่มเติมของ ปีเตอร์ ลินซ์ ก็บอกว่านี้คือโอกาสในการเข้าซื้อ และค่อยขายเมื่อเห็นว่ากำไรพอสมควร 

3. The Fast Growers คำจำกัดความง่ายๆ ภาษาไทยก็คือ หุ้นที่เจริญเติบโตเร็ว ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นหุ้นที่ขนาดไม่ใหญ่นัก เนื่องจากเป็นบริษัทที่เพิ่งตั้งขึ้นมาใหม่ โดยถ้านับตามวัฏจักรธุรกิจ ก็คือ อยู่ในช่วงเจริญเติบโต หรือ ท่านผู้อ่านคงคิดง่ายๆ ถึงบรรดาหุ้น ดอทคอม ทั้งหลาย ซึ่งถ้าย้อนถึงเหตุการณ์ในปัจจุบันเราคงนึกถึงหุ้นในตลาดหุ้น nasdaq ของสหรัฐ เราคงจะเห็นว่าในช่วงหลายปีก่อน มีการปรับตัวขึ้นจากหุ้นละ 10$ ไปสู่ 100$ กว่าๆ อย่างสบาย และในที่สุดเมื่อผลการดำเนินงานไม่เป็นไปตามที่คาดความล้มสลายก็เกิดขึ้นแ ละมีการย้อนกลับมา ที่ระดับราคาเดิม 

ปีเตอร์ ลินซ์ แนะนำบอกว่า การซื้อหุ้นเหล่านี้เขาแนะนำให้ซื้อเก็บเข้าไว้ แต่ต้องคอยดูงบการเงินของบริษัทเหล่านี้อยู่เสมอ เนื่องจากหุ้น The Slow Growers จะมีการปรับตัวขึ้นก่อนหน้าผลการดำเนินงานและเมื่อไรผมการดำเนินงานไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ราคาหุ้นก็จะปรับตัวลดลงอย่างรุนแรง ขยายความง่ายๆ สำหรับนักลงทุนที่เพิ่งเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ก็คือ สมมติเราซื้อหุ้นด้วยวิธีการดู P/E (ราคาหารด้วยผลกำไร)ซึ่งยิ่งน้อยจะยิ่งดี แต่ราคาหุ้นในกลุ่มนี้จะขึ้นก่อน แต่กำไรจะไม่แสดง (P/D ราคาหารด้วยความฝัน) เมื่อกำไรที่เกิดขึ้นไปตามที่คาดราคาหุ้นจะขึ้นต่อและค่อนข้างแรง แต่ถ้ากำไรที่เกิดขึ้นไม่เป็นไปตามที่คาดราคาหุ้นจะขึ้นต่อและค่อนข้างแรง แต่ถ้ากำไรที่เกิดขึ้นไม่เป็นไปตามที่ราคา ราคาหุ้นจะลงแรง 

4. The Cyclicals ชื่อนี้สำหรับท่านผู้อ่านที่เป็นนักลงทุนในตลาดหุ้นอยู่แล้วคงจะคุ้นเคย แต่สำหรับท่านผู้อ่านที่ไม่เคยลงทุนในตลาดหุ้นอาจจะต้องทำความเข้าใจหน่อย เพราะว่าหุ้นนี้ก็คือเป็นหุ้นวัฏจักร ก็คือมีขึ้นมีลงสังเกตได้ชัดเจนในหุ้นกลุ่มที่มีการขึ้นลงตามราคาวัตถุดิบ เช่นหุ้นกลุ่มกระดาษ หรือ หุ้นกลุ่มปิโตรเคมี โดยราคาหุ้นเหล่านี้ จะมีการขึ้นลงตามวัตถุดิบไปเรื่อยๆ 

ปีเตอร์ ลินซ์ แนะนำว่าการลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้ อยู่ที่จังหวะและโอกาส คือต้องสามารถคาดการณ์ได้ว่าจังหวะไหนจะเป็นวัฏจักรขาขึ้น และควรซื้อหุ้นดักหน้า แต่ถ้าไม่ดีก็ควรขายออกทันที 

5. Turnaround Stock เป็นหุ้นที่กำลังอยู่ในช่วงฟื้นตัว จากภาวะตกต่ำและเป็นหุ้นประเภทเดียวจาก 6 กลุ่มที่ ปีเตอร์ ลินซ์ มีการย่ำเป็นพิเศษว่า "ต้องซื้อ" สาเหตุสำคัญก็เนื่องจากว่าหุ้นกลุ่มนี้สามารถสร้างกำไรให้ผู้ซื้ออย่างเป็นกอบเป็นกำ 

ปีเตอร์ ลินซ์ ยังแนะนำต่อไปว่า การเข้าซื้อหุ้นเหล่านี้ควรช้อนซื้อโดยไม่สนใจคำเตือนของใครๆ และต้องใจเย็นเมื่อซื้อเข้าไปแล้ว และในที่สุดท่านจะได้กำไรอย่างมหาศาล 

6. The Asset Play เป็นหุ้นที่อยู่ในรูปของบริษัทที่มีสินทรัพย์แฝงอยู่ แต่ยังไม่เป็นที่เปิดเผยออกมาโดยอาจจะเป็นในรูปที่ดิน, เงินสด หรือสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ ก็ได้ 

ปีเตอร์ ลินซ์ แนะนำว่า ถ้าค้นพบบริษัทไหนมีสินทรัพย์แฝงอยู่ให้ซื้อเก็บไว้และอดทนรอระยะหนึ่ง และก็จะได้กำไรอย่างคุ้มค่าเหนื่อย 

วิธีการและแนวทางในการลงทุน

อันดับแรก เปิดหูเปิดตาให้กว้างเพื่อรับฟังแนวคิดใหม่ๆ

แนวคิดหลักของลินซ์คือ เราสามารถเลือกลงทุนได้จากสิ่งรอบตัวเรา เช่นถ้าเราเลือกที่จะสนใจในสิ่งที่เรารู้และเข้าใจอยู่แล้ว อาจจะเป็นร้านอาหาร ร้านค้า หรือแม้แต่การสังเกตเพื่อนบ้านที่กำลังถอยรถใหม่ออกมา หรือเห็นโรงงานข้างทางกำลังขยายโรงงาน สิ่งเหล่านี้อาจจะเป็นตัวช่วยให้เราเลือกลงทุนกับบริษัทเหล่านั้นได้อย่างเหมาะสม.

แหล่งข้อมูลที่คุณสามารถหาได้ดีที่สุด :งานของคุณ ซึ่งมันทำให้คุณคุ้นเคยกับธุรกิจ และคุณสามารถเข้าใจลูกค้า และผู้ขายวัตถุดิบอยู่แล้ว เช่นหากคุณเป็นแพทย์ คุณจะเข้าใจโรงพยาบาล เข้าใจผู้ป่วย และบริษัทเวชภัณฑ์ ว่าเขาทั้งหมดต้องการอะไร และโรงพยาบาล และบริษัทเวชภัณฑ์สามารถสนองความต้องการของผู้ป่วยได้หรือไม่ งานอดิเรกและ การพักผ่อนของคุณ เช่นกีฬาที่เล่น สถานที่ที่เล่น ห้างสรรพสินค้าและสินค้าที่คุณ และเพื่อนๆของคุณนิยมซื้อกันครอบครัวของคุณและของเพื่อนฝูง พวกเขาก็จะมีงานและงานอดิเรกของเขาซึ่งคุณสอบถามข้อมูลจากเขาได้ การสังเกต และประสบการณ์ของคุณที่มีต่อบริษัทที่คุณรู้จัก 

อันดับที่สอง จัดหมวดหมู่ความคิดของคุณ

บริษัทต่างๆสามารถจัดประเภทได้ 6 ประเภทหลักๆ ดังนี้

ประเภทอุ้ยอ้าย (Slow growers) 
การเติบโตของกำไรจะสุงกว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเล็กน้อย ประมาณ 2-4% ต่อปี 

ประเภทแข็งแกร่ง(Stalwarts)
บริษัทที่ดีมีอัตราการเติบโตประมาณ 10-20% ต่อปี

ประเภทโตเร็ว (Fast growers)
บริษัทเล็กๆที่มีอัตราการเติบโตที่สูงมากประมาณ 20 -25% ต่อปี 

ประเภทขึ้นลงตามวัฎจักร (Cyclicals) 
บริษัทที่กำไรขึ้นลงตามสภาวะเศรษฐกิจ

ประเภทเริ่มฟื้นตัว (Turnarounds) 
บริษัทที่ประสบปัญหา แต่มีสัญญาณแห่งการฟื้นตัวที่ชัดเจน 

ประเภทสินทรัพย์แฝง (Asset plays)
บริษัทที่ราคาหุ้นต่ำกว่ามูลค่าของสินทรัพย์ หรือมูลค่าตามบัญชีที่เราทราบแต่อีกหลายคนในตลาดยังไม่ทราบ เช่นที่ดินที่มีอยู่อาจมีมูลค่าสูงมาก ในบริษัทประกันภัยที่ตั้งสำรองเงินประกันสูงๆ 

ใช้ความพยายามที่มีอยู่ในการหาหุ้นประเภทโตเร็ว เพราะหากซื้อที่ราคาที่เหมาะสมอาจทำให้เราได้รับผลตอบแทนสูงถึงสิบเท่าตัว นอกจากนั้นให้มองหาหุ้นประเภทกำลังฟื้นตัว และบางครั้งควรเป็นประเภทมีสินทรัพย์แฝง.
อย่าถือเงินสด ทางที่ดีคือนำเงินสดที่เหลืออยู่ไปลงทุนในหุ้นประเภทที่แข็งแกร่ง(Stalwarts) เพราะคุณจะไม่พลาดเมื่อตลาดหุ้นปรับตัวสูงขึ้น หลีกเลี่ยง หุ้นประเภทอุ้ยอ้าย(กำไรน้อยเกินไป) กับหุ้นประเภทขึ้นลงตามวัฎจักรที่กำลังแย่ลง 

อันดับที่สาม สรุปเรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับบริษัทที่เลือกได้ 

เหตุผลที่สนใจในบริษัทนี้ อะไรเป็นสิ่งที่ทำให้บริษัทนี้ประสบความสำเร็จ อุปสรรคที่จะทำให้บริษัทล้มเหลวได้ ต้องแน่ใจว่าเรื่องราวเกี่ยวกับบริษัทนั้น ง่ายต่อการทำความเข้าใจ ถูกต้อง เชื่อถือได้ และสามารถจัดลงในประเภทดังที่กล่าวมาแล้ว ตัวอย่างคำถามง่ายๆที่ควรจะถามตัวเองเสมอเช่น”ถ้าบริษัทนี้จัดเป็นประเภทโตเร็ว แล้วสิ่งใดเป็นตัวที่ทำให้มันเติบโตอย่างต่อเนื่อง?

อันดับที่สี่ ตรวจสอบตัวเลขที่สำคัญ Fourthly, check the key numbers.

ถ้าคุณสนใจในสินค้าและบริการใดในบริษัท ให้ตรวจสอบว่ายอดขายต้องมากเท่าไรจึงจะสามารถมีกำไรในจำนวนมากได้ (ตรวจสอบ Profit Margin) 

ให้ความสำคัญกับบริษัทที่อัตราส่วน P/E ต่ำกว่าอัตราการเจริญเติบโตของกำไรต่อหุ้น (ให้ตรวจสอบ PEG) 

ให้ความสำคัญกับบริษัทที่มีเงินสดจำนวนมากพอที่จะทำให้ธุรกิจแข็งแกร่ง ให้ระวังบริษัทที่มีหนี้สินต่อทุนสูง(D/E หรือ Gearing สูง) โดยเฉพาะหนี้ที่มาจากวงเงินเบิกเกินบัญชี ซึ่งจะต้องจ่ายเมื่อถูกทวงถาม ซึ่งไม่เหมือนกับหุ้นกู้ที่มีระยะเวลากำหนดแน่นอน(ถ้าเป็นหนี้ชนิดหุ้นกู้จะดีกว่าเพราะตราบใดที่ยังจ่ายดอกเบี้ยได้ เจ้าหนี้จะเอาเงินคืนก่อนกำหนดไม่ได้)

หากเป็นบริษัทประเภทแข็งแกร่งหรือโตเร็ว ให้เลือกบริษัทที่มีกำไรก่อนภาษีสูงๆ หากเป็นบริษัทประเภทเริ่มฟื้นตัว ให้เลือกบริษัทที่ราคาต่ำแต่มีศักยภาพที่จะกลับมาสูง.

อันดับที่ห้า ไม่ต้องไปสนใจการขึ้นลงของตลาด ให้ใช้เหตุผลในการซื้อขายเท่านั้น 

จำไว้เสมอว่า กำไรขาดทุนที่จะได้รับไม่ได้ขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจโดยรวมแต่จะขึ้นอยู่กับปัจจัยเฉพาะของธุรกิจที่บริษัทดำเนินการอยู่ ดังนั้นไม่ต้องไปสนใจการขึ้นลงของตลาดหุ้น .

ซื้อหุ้นเมื่อแน่ใจในเหตุผลที่อยู่เบื้องหลัง ที่ราคาที่เหมาะสม ลงทุนเต็มที่ตลอดเวลา

ขายหุ้นประเภทแข็งแกร่ง เมื่อ PEG สูงประมาณ 1.2 – 1.4 หรือเห็นแนวโน้มว่าการเติบโตเริ่มลดลง 

ขายหุ้นประเภทโตเร็ว เมื่อเห็นสัญญาณว่าจะไม่มีทางขยายการลงทุนได้อีกแล้ว หรือการขยายกิจการนั้นเริ่มทำให้การขยายตัวลดลง หรือเมื่อ PEG สูงประมาณ 1.5 – 2.0

ขายหุ้นประเภทมีสินทรัพย์แฝง เมื่อมีการซื้อกิจการเกิดขึ้น หรือเมื่อกิจการขายสินทรัพย์ได้ต่ำกว่าราคาที่ควรจะเป็น

25 กฏเหล็กการลงทุน
ของ ปีเตอร์ ลินซ์ (Peter Lynch)
คำแนะนำดีๆจากนักลงทุนผู้ยิ่งใหญ่ ‘ปีเตอร์ ลินช์ (Peter Lynch)’ ซึ่งเป็นผู้บริหารกองทุนแม็คเจ็ลลัน โดยสามารถสร้างผลตอบแทนที่สูงมากในระดับ 29% แบบทบต้นในระยะเวลา 13 ปีที่เขาบริหารงานอยู่ กลยุทธ์ของปีเตอร์ ลินช์ มีหลายแบบ หนึ่งในนั้นคือ 25 กฎเหล็กในการลงทุนของปีเตอร์ ลินช์ ซึ่งมีความน่าสนใจไม่น้อย และน่าจะมีประโยชน์กับนักลงทุน

25 กฎเหล็กในการลงทุนของปีเตอร์ ลินช์มีดังนี้

1. การลงทุนนั้นสนุก ตื่นเต้น และอันตรายมากถ้าคุณไม่ศึกษาหรือวิเคราะห์ก่อนลงทุน

2. ความเก่งหรือความสามารถในการลงทุนของคุณนั้น ไม่ใช่จะได้มาจากนักวิเคราะห์หลักทรัพย์หรือผู้รู้ในตลาดหุ้น แต่ความเก่งหรือความสามารถในการลงทุนของคุณนั้นอยู่ในตัวคุณอยู่แล้ว คุณจะสามารถชนะตลาดหุ้นได้ ถ้าคุณลงทุนในบริษัทหรืออุตสาหกรรมที่คุณเข้าใจอยู่แล้ว

3. 30 ปีที่ผ่านมา ตลาดหุ้นถูกโน้มน้าวหรือถูกควบคุมโดยนักลงทุนมืออาชีพ ซึ่งคนกลุ่มนี้มีผลต่อตลาดมาก อย่างไรก็ตาม ถ้านักลงทุนรายใหม่อยากชนะตลาดก็ควรวิเคราะห์ หรือศึกษาการลงทุนจะดีกว่าที่จะฟังคนอื่นบอกมาอีกที

4. ติดตามบริษัทที่คุณได้ทำการลงทุนไปอย่างสม่ำเสมอ

5. ผลประกอบการของบริษัทและราคาหุ้นอาจจะไม่มีความสัมพันธ์ในระยะสั้น หนึ่งเดือนหรือสองเดือน แม้กระทั้งสองหรือสามปี แต่ในระยะยาวผลประกอบการของบริษัทและราคาหุ้นมีความสัมพันธ์กัน 100 เปอร์เซ็นต์

6. คุณต้องรู้ว่าคุณเป็นเจ้าของหุ้นอะไร และเหตุผลว่าทำไมถึงเลือกเป็นเจ้าของหุ้นตัวนี้

7. การวิเคราะห์การลงทุนในระยะยาวเกินไป บ่อยครั้งที่จะคลาดเคลื่อนจากที่คิดไว้

8. การมีหุ้นนั้นเปรียบได้เหมือนมีลูก อย่าไปมีหุ้นมากเกินกว่าแรงของตัวเองจะรับไหว

9. ถ้ายังหาหุ้นที่น่าลงทุนไม่ได้ จงอย่าลงทุนและนำเงินไปฝากธนาคารจนกว่าจะหาเจอ

10. จงหลีกเลี่ยงหุ้นที่ร้อนในอุตสาหกรรมที่แรง และควรลงทุนหุ้นที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่เติบโตน้อยจะเป็นผู้ชนะในส่วนมาก

11. ถ้าพูดถึงบริษัทขนาดเล็กคุณควรจะรอจนกว่าบริษัทมีความสามารถทำกำไรสม่ำเสมอ แล้วค่อยตัดสินใจลงทุน

12. ถ้าคุณอยากลงทุนในอุตสาหกรรมที่กำลังอยู่ในช่วงวิกฤต จงลงทุนในบริษัทที่มีโอกาสที่จะรอดจากช่วงวิกฤตได้

13. ถ้าคุณลงทุน $1,000 ในตลาดหุ้น คุณมีโอกาสที่จะขาดทุนมากที่สุดเท่ากับ $1,000 แต่มีโอกาสทำกำไรมากถึง $10,000 หรือ $50,000 ถ้าคุณใจเย็นและมีความรู้ในการลงทุน

14. ในทุกอุตสาหกรรมนักลงทุนสมัครเล่นสามารถหาบริษัทที่ดีเยี่ยมก่อนนักลงทุนมืออาชีพนานเลยทีเดีย

15. ตลาดหุ้นตกเป็นเรื่องธรรมชาติเปรียบเหมือนฝนที่ต้องตกทุกปี

16. นักลงทุนทุกคนมีความสามารถที่จะทำกำไรในตลาดหุ้น แต่ไม่ทุกคนที่มีความกล้า ถ้าคุณเป็นนักลงทุนประเภทที่ต้องขายหุ้นในช่วงเวลาหุ้นตกหรือช่วงตกใจ จงอย่าลงทุนในหุ้น

17. อย่าวิตกกังวลในปัจจัยภายนอกมากเกินไป นักลงทุนควรขายหุ้นทำกำไรก็ต่อเมื่อปัจจัยพื้นฐานของบริษัทนั้นแย่ลง

18. ไม่มีใครสามารถทำนายอัตราดอกเบี้ย แนวโน้มเศรษฐกิจหรือตลาดหุ้นได้ ดังนั้นจงติดตามบริษัทที่คุณได้ทำการลงทุนไปอย่างสม่ำเสมอ

19. ถ้าคุณวิเคราะห์ 10 บริษัท คุณจะเจอ 1 บริษัทที่เด่นกว่าที่คุณคิดไว้ ถ้าคุณวิเคราะห์ 50 บริษัทคุณจะเจอ 5 บริษัทที่ดีเยี่ยม

20. ถ้าคุณไม่ศึกษาหรือวิเคราะห์การลงทุนในหุ้น ก็ไม่ต่างอะไรกับการเล่นไพ่โป๊กเกอร์แบบไม่ดูไพ่

21. ถ้าเวลาอยู่ข้างเดียวกับคุณ หากคุณลงทุนในบริษัทชั้นดีคุณสามารถที่จะรอได้ แต่หากคุณพลาดการลงทุนในหุ้น Wal-Mart มันก็ยังเป็นหุ้นที่น่าซื้ออยู่ดี แต่เวลาจะเป็นศัตรูกับคุณถ้าคุณซื้อออปชั่น

22. ถ้าคุณอยากลงทุนแต่คุณไม่มีเวลาทำการบ้าน คุณควรจะซื้อกองทุนที่มีการกระจายความเสี่ยงและกองทุนหลายประเภท

23. ภาษีที่คิดจากส่วนต่างของราคาจะส่งผลในเชิงลบกับนักลงทุนที่สับเปลี่ยนกองทุนบ่อยครั้งเกินไป หากคุณลงทุนในกองทุนหนึ่งกองหรือหลายกองที่ให้ผลตอบแทนดีๆ จงอย่าขายพวกมันออกไปแบบใช้อารมณ์ จงถือกองทุนเหล่านั้น

24. ในบรรดาตลาดหุ้นทั่วโลก ตลาดหุ้นที่อเมริกาให้ผลตอบแทนรวมในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาสูงเป็นอันดับแปดของโลก คุณจะสามารถหาประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วกว่าโดยการนำเงินไปลงทุนต่างประเทศที่มีผลตอบแทนที่ดี

25. ในระยะยาวแล้ว พอร์ตการลงทุนที่ประกอบด้วยหุ้นและกองทุนหุ้นที่ดีจะให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าพอร์ตที่ประกอบด้วยตราสารหนี้หรือการลงทุนในตลาดเงิน อย่างไรก็ตามในระยะยาว พอร์ตที่ประกอบด้วยหุ้นและกองทุนหุ้นแบบแย่ๆ จะไม่สามารถให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าเงินที่ถูกเก็บเอาไว้ใต้ที่นอนได้

จากกฎเหล็ก 25 ข้อข้างต้น หวังว่าคงเป็นคำแนะนำที่ดีเพื่อช่วยในการตัดสินใจในการลงทุนนะครับ แต่อย่างไรก็ตามการลงทุนมีความเสี่ยง นักลงทุนควรที่จะต้องประเมินผลตอบแทนให้คุ้มกับความเสี่ยงให้เหมาะกับตัวเราเองด้วยครับ

วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

หุ้นขนาดกลาง ขนาดเล็ก

ที่มา : สรุปจาก นิตยสาร Money & Wealth ฉบับที่ 99

"ขนาดมาเก็ตแคปเป็นเรื่องรอง  แต่ความแข็งแกร่งของการดำเนิการธุรกิจในระยะยาวผสมกับ Valuation เป็นเรื่องสำคัญในการตัดสินใจลงทุนหุ้นขนาดกลาง ขนาดเล็ก"


กลยุทธ์การลงทุน
         อันดับแรกที่ต้องพิจรณาคือปัจจัยพื้นฐาน ถัดมาต้องดู Story ของหุ้นว่ามีดีพอที่จะขับเคลื่อนราคามากหน้อยแค่ไหน แล้วดูสภาพคล่องในการซื้อขาย ถ้าเจอหุ้นดีมากๆ แต่ไม่มีสภาพคล่องเช่น ผู้ถือหุ้นถือหุ้นสัดส่วน 70% ก็จะมี Free Float น้อยๆ ดังนั้น ต่อให้หุ้นไปต่อแค่ไหน ก็ซื้อไม่ได้
         หุ้นขนาดกลางและเล็ก ที่ธุรกิจไม่หวือหวา จะได้รับความน่าสนใจสูงขึ้น โดนเฉพาะช่วงที่ตลาดหุ้นมีความเหวี่ยงมากๆ นั้น พอร์ตนักลงทุนสถาบัน จะถูกบังคับว่าต้่องมีการลงทุนในหุ้นตลอดเวลาไม่ต่ำกว่า 65% หักลงทุนสถาบันอาจลดน้ำหนักการลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ที่มีความผันผวนสูงๆ ไปลงทุนหุ้นขนาดกลางและเล็กที่เป็น Defensive มากขึ้น
         การเข้าออกต้องเร็ว การลงทุนหุ้นขนาดกลางและเล็ก จะต้องมองเรื่อง Capital Gain เป็นหลัก  ไม่ใช่เรื่องเงินปันผล เพราะขนาดมาเก็ตแคปไม่ใหญ่มาก การขับเคลื่อนของราคาจะปรับขึ้นไปได้อย่างรวดเร็ว และเมื่อราคาปรับขึ้นถึงเป้าหมายได้เร็ว ก็ต้องขายทำกำไร 
         นอกจากจะให้ความสำคัญเรื่อง Capital Gain เป็นหลัก ให้มองเรื่องอัตราเงินปันผลประกอบด้วย โดยเฉพาะในภาวะที่ตลาดมีความผันผวนสูงๆ เงินปันผลจะช่วยลดความเสี่ยงไปได้ ดังนั้น หากมีเงินปันผลติดปลายนวมก็จะยิ่งน่าสนใจ 

วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

'นพ.บำรุง ศรีงาน' จาก 'หมอบ้านนอก' สู่ 'เซียนหุ้น VI'


การเงิน - การลงทุน : ถนนนักลงทุน

วันที่ 2 สิงหาคม 2553 01:00


โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์



ใครๆ ก็ยากรวยจากตลาดหุ้น แต่ใช่ว่าใครๆ ก็รวยได้ อดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลอำเภอในจังหวัดบุรีรัมย์ เริ่มต้นคิดถึงอนาคตในวันข้างหน้าของ "ครอบครัวศรีงาน" เขาตัดสินใจนำเงินเก็บก้อนเล็กๆ ที่ทำงานรับใช้คนไข้มาตลอด 7 ปี รวมกับเงินกู้สหกรณ์อีกก้อนหนึ่ง เริ่มเพาะต้นกล้าการลงทุนตามแนวทางแวลูอินเวสเตอร์โดยมีอนาคตลูกน้อยอีก 3 ชีวิตเป็นเดิมพัน    
เวลาผ่านไป 9 ปี มหัศจรรย์ของการลงทุนแบบ "ทบต้น" และการทุ่มเทค้นหาเส้นทางแห่งความสำเร็จ ทำให้หมอบ้านนอกประกาศอิสรภาพทางการเงิน เป็น "นาย" ของเงินนับ "ร้อยล้านบาท" ในปัจจุบัน และใช้เงิน "ทำงาน" ราวกับเครื่องจักรอันทรงพลัง ทั้งยังแบ่งปันความรู้จนเป็นที่นับถือของพี่น้องชาวไทยวีไอดอทคอม ในฐานะ.."พี่หมอสามัญชน" 
กลุ่มนักลงทุน "ไทยวีไอ" ที่ก่อตั้งโดยแกนนำอย่าง ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร  ธันวา เลาหศิริวงศ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ไอบีเอ็ม ประเทศไทย ฯลฯ เป็นผู้นำแนวคิดของปรมาจารย์การลงทุนหุ้นคุณค่าระดับโลกอย่าง วอร์เรน บัฟเฟตต์  เบนจามิน เกรแฮม  ปีเตอร์ ลินช์ มาปรับใช้กับการลงทุนแบบไทยๆ ได้อย่างลงตัว จนเกิดนักลงทุนทางเลือกที่เลือกเดินบนเส้นทางสายนี้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
นพ.บำรุง ศรีงาน เป็นประธานชมรม



ปัจจุบัน นพ.บำรุง ศรีงาน เป็นประธานชมรม "ไทยวีไอ" ที่หันเหชีวิตมาเป็นนักลงทุนเต็มเวลา ส่วนตัวเขาเริ่มไต่ระดับพอร์ตหุ้นจากหลัก "ล้านบาท" สู่ระดับ "ร้อยล้านบาท" จากการเข้าลงทุนในหุ้นโรงพยาบาลรามคำแหง (RAM) โรงพยาบาลไทยนครินทร์ (TNH)  ไอที ซิตี้ (IT)  ผาแดงอินดัสทรี (PDI) เอสทีพี แอนด์ ไอ (STPI) สมบูรณ์ แอ๊ดวานซ์ เทคโนโลยี (SAT) และไทยสแตนเลย์การไฟฟ้า (STANLY) บางตัวมีกำไรหลายร้อยเปอร์เซ็นต์
กรุงเทพธุรกิจ BizWeek มีนัดพูดคุยกับคุณหมอสามัญชนที่โครงการบ้านจัดสรรแห่งหนึ่งย่านดอนเมือง คุณหมอนักลงทุน เปิดฉากชีวิตก่อนจะมาถึงจุดนี้ให้ฟังว่า ตอนนั้นเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาล อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ แม้จะมีรายได้ค่อนข้างดีกว่าอาชีพอื่นแต่เริ่มมีความคิดว่าอายุเราก็เพิ่มขึ้น ความสามารถในการทำงานย่อมลดลง แต่ภาระค่าใช้จ่ายเริ่มมากขึ้นเพราะลูกทั้งสามคนโตขึ้นทุกวัน จึงตัดสินใจมองหาอาชีพเสริมตอนนั้นคิดจะเปิดร้านเซเว่นอีเลฟเว่น
"แต่หลังจากไปฟังสรุปข้อมูลจากทางบริษัทคิดว่าไม่คุ้มค่าเพราะต้องลงไปบริหารร้านเองด้วย ต่อมามีโอกาสได้อ่านหนังสือ  “พ่อรวยสอนลูก” ของโรเบิร์ต คิโยซากิ จับใจความสำคัญได้ว่าเราสามารถใช้เงินให้ทำงานได้ จึงเริ่มวางแผนที่จะนำเงินเก็บที่มีอยู่ 400,000-500,000 บาท จากการทำงานมาตลอด 7 ปี บวกกับกู้เงินสหกรณ์อีก 1,000,000 บาทนำไปลงทุน โดยไม่คิดฝากเงินในธนาคารเพราะตอนนั้น (ช่วงปี 2545) ดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ที่ 1% ต่ำมาก"
ตอนนั้นในหัวคุณหมอคิดถึงทฤษฎีของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ที่พูดถึงสิ่งมหัศจรรย์ "อันดับแปด" ของโลกนั่นคือ “ดอกเบี้ยทบต้น” ถ้าเราสามารถสร้างผลตอบแทนได้ปีละ 10% ทุกปี ตลอดระยะเวลา 20-30 ปีต่อเนื่อง ผลตอบแทนจะเพิ่มขึ้นสูงมากอย่างไม่น่าเชื่อ
"จุดเปลี่ยนเกิดขึ้นหลังได้เห็นโฆษณาขายหุ้นไอพีโอ ปตท. (PTT) แล้วเขาชูเรื่องจ่ายเงินปันผล 7% เยอะกว่าฝากเงินมากเลยตัดสินใจเปิดพอร์ตเดี๋ยวนั้นเลยกับ บล.เกียรตินาคิน"
ก้าวแรกในการลงทุนของคุณหมอยังไม่ประสบความสำเร็จเพราะขาดประสบการณ์และความรู้ยังไม่แน่น เริ่มซื้อหุ้นชุดแรก เช่น ซีเฟรชอินดัสตรี (CFRESH) เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF) ลานนารีซอร์สเซส (LANNA) ผ่านไปประมาณครึ่งปีขาดทุนไป 400,000 บาท
"เหตุผลที่ซื้อหุ้นตอนนั้นเพราะโบรกเกอร์บอกว่าหุ้นกลุ่มเกษตรจ่ายปันผลดีกว่า ปตท. มาขาดทุนหุ้น CFRESHเพราะดูงบการเงินในอดีตและปัจจุบันมันดี แต่ลืมดูแนวโน้มในอนาคต (จากที่คิดว่าถูกก็เลยกลายเป็นแพง)"
เมื่อไม่ประสบความสำเร็จก็ต้องหาความรู้เพิ่มเติมจนได้มาอ่านหนังสือ "ตีแตก" ของ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร มาช่วยเติมเต็มความรู้ สิ่งที่ได้เรียนรู้มากขึ้นจากหนังสือตีแตกสิ่งที่ ดร.นิเวศน์ ชี้ให้เห็นความแตกต่างระหว่างการเป็น "เจ้าของกิจการ" กับการเป็น "นักลงทุน"
ข้อดีของการเป็นนักลงทุนคือเราสามารถเลือกซื้อหุ้นในช่วงเวลาที่ราคาต่ำกว่าความเป็นจริงได้รวมถึงสามารถเลือกขายออกไปในราคาที่มากกว่ามูลค่าทางบัญชีได้ด้วย แต่ถ้าเป็นเจ้าของหุ้นก็ต้องกอดหุ้นตัวนั้นไปตลอดไม่ว่าธุรกิจจะดีหรือไม่ดี
นอกจากนี้ เราสามารถเป็นเจ้าของธุรกิจระดับประเทศได้โดยที่ไม่ต้องลงไปสร้างเองกับมือ คนทั่วไปคงไม่มีเงินเป็นร้อยล้าน เป็นพันล้าน หรือหมื่นล้าน
"ผมเป็นข้าราชการกินเงินเดือน คงไม่มีเงินไปลงทุนธุรกิจใหญ่เองได้ แต่การเป็นนักลงทุนทุกอย่างเปิดโอกาสให้เราได้หมด หนังสือตีแตกยังสอนให้รู้จักการอ่านงบการเงินอย่างถูกต้องด้วย" 
ปีที่สองของการลงทุน...กำไรเกือบ 3 ล้าน
พอในปี 2546 หมอบ้านนอกได้ค้นพบหนทางแห่งความร่ำรวยจากการใช้เงินทำงานตามแนวคิดของโรเบิร์ต คิโยซากิ และตีแตกแบบ ดร.นิเวศน์
ปีที่สองของการลงทุน ดัชนีตลาดหลักทรัพย์เริ่มปรับตัวขึ้นจากจุดต่ำสุดที่ 323 จุด (ปี 2545) ทะยานขึ้นไป 802 จุด (ปี 2546) ในยุคที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กำลังท็อปฟอร์ม พอร์ตของ นพ.บำรุง ก็โตขึ้นมากกว่า 100% ด้วย ปีนั้นสามารถทำกำไรได้เกือบๆ 3,000,000 บาท แต่ปีถัดไปพอร์ตกลับมา "ติดลบ" อีกครั้ง หลังในปี 2547 ดัชนีดิ่งลงมาต่ำสุด 576 จุด เพราะปีก่อนขึ้นไปมากเกินไป รู้ซึ้งสัจธรรมตลาดหุ้นมีขึ้น-มีลง ขึ้นมากได้ก็ลงมากได้เช่นกัน และไม่มีหุ้นอะไรที่ดีตลอดไป
คุณหมอบอกว่า สาเหตุที่ได้กำไรในปี 2546 มาก มาจากภาพรวมดัชนีที่ปรับตัวขึ้นไปมาก แท้จริงแล้วไม่ได้มาจากความรู้ที่แท้จริง ทำให้ต้องเริ่มต้นหาแนวทางการลงทุนของตัวเองใหม่อีกครั้งเพื่อไม่ให้ขาดทุนอีก
จุดเปลี่ยนในฐานะแวลูอินเวสเตอร์อย่างเต็มตัวเกิดขึ้นจากการที่คุณหมอเริ่มเข้าไปพูดคุยในเว็บบอร์ด “ไทยวีไอดอทคอม” เป็นจุดหักเหทำให้เกิดการพัฒนาแนวคิดการลงทุนเชิงบูรณาการมีการแลกเปลี่ยนแนวคิดกับเพื่อนนักลงทุน "รู้เขา-รู้เรา" ไม่ได้คิดเองคนเดียว จนถึงปีที่ห้าของการลงทุนเริ่มกลับมาได้กำไรประมาณ 20-30%
ถึงตรงนี้หมอบำรุงเริ่มอธิบายสไตล์การลงทุนของตัวเองให้ฟังว่าคล้ายๆ แต่ไม่เหมือนกับแนวทางของ ดร.นิเวศน์ที่ยึดหลักของวอร์เรน บัฟเฟตต์ คือค้นหา "หุ้นสุดยอด" (Great Stock) ที่มีความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืนและอยู่กับมันให้นานที่สุด แต่วิธีการของหมอบำรุงจะค่อนไปทาง ปีเตอร์ ลินช์ และแนวทางของ เบนจามิน เกรแฮม ต้นตำรับการลงทุนแนววีไอ

ปีเตอร์ ลินช์ +เกรแฮม = หมอบำรุง
นพ.บำรุง บอกว่าถ้าเป็นแนวคิดของเบนจามิน เกรแฮม จะค้นหาหุ้นที่มีทรัพย์สินมากแต่ราคาถูก แต่ของปีเตอร์ ลินช์ จะเน้นลงทุนหุ้นวัฏจักร (Cyclical Stock) หุ้นเติบโต (Growth Stock) และหุ้นเทิร์นอะราวด์ (Turnaround) ในประเทศไทยหาหุ้นแบบวอร์เรน บัฟเฟตต์ ที่มีศักยภาพการแข่งขันที่ยั่งยืนยาก และส่วนตัวมองธุรกิจกลุ่มนี้ได้ไม่ค่อยทะลุปรุโปร่ง (เหมือน ดร.นิเวศน์) จึงเดินตามแนวทางที่ "ใช่" กับตัวเองมากกว่า
แม้แวลูอินเวสเตอร์ในประเทศไทยจะมีหลายแขนง (วอร์เรน บัฟเฟตต์, ปีเตอร์ ลินช์, จอห์น เนฟฟ์, ฟิลลิป ฟิชเชอร์ ฯลฯ) แต่แก่นของแนวคิดนี้มีอยู่ข้อเดียวคือ ราคาต้อง Under Value เมื่อเทียบกับความสามารถในการทำกำไรในอนาคต 2-3 ปีข้างหน้า ในแง่ราคาหุ้นจะต้องมีค่าพี/อี เรโช ต่ำ ยิ่งต่ำมากระดับเลขตัวเดียวหรือถ้าอยู่ที่ 3-4 เท่าได้จะดีมาก ข้อระวังคือต่อให้ราคาถูกมากแต่ไม่สามารถประเมินกำไรในอนาคตได้อย่างนี้ก็ "ไม่ควรซื้อ"
ถ้าเป็นหุ้นเติบโตค่อนข้างดูง่ายเพราะสามารถอ่านจากบทวิเคราะห์ของโบรกเกอร์ได้และดูแนวโน้มของอุตสาหกรรมนั้นๆ ประกอบกันก็พอมองออก ที่ต้องระวังคือความเห็นของผู้บริหารควรต้องมีความเป็นไปได้คู่กับงบการเงินที่เติบโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ถ้าเป็นหุ้นเทิร์นอะราวด์จะดูยากที่สุด ขอให้โฟกัสไปที่ผู้บริหารเป็นหลักว่ามีความสามารถในการบริหารเพียงใด ถ้าย้อนไปดูสาเหตุที่บริษัทตกต่ำแล้ววิเคราะห์ให้ได้ว่าเขาจะสามารถนำธุรกิจกลับมาได้หรือไม่
ส่วนหุ้นวัฏจักรส่วนมากจะเป็นธุรกิจเดิมๆ อย่างเช่นธุรกิจเกษตรซึ่งมีวงจรสั้นที่สุด ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จะเป็นระยะกลาง ส่วนตัวจะชอบหุ้นที่มีวัฏจักรระยะยาว 10 ปี และจะเลือกซื้อตอนที่ธุรกิจอยู่ในช่วงสุดท้ายของ "ขาลง" และถ้ากลับมาเป็น "ขาขึ้น" ได้จริง ผลตอบแทนจะสูงมาก
ข้อแตกต่างระหว่างหุ้นเติบโตกับหุ้นวัฏจักร ถ้าเป็น Growth Stock ส่วนใหญ่รายได้จะเติบโตประมาณ 10% ขึ้นไป และลูกค้าจะหมุนเวียนเข้ามาใช้บริการต่อเนื่องอย่างเช่นหุ้นกลุ่มค้าปลีก แต่ถ้าเป็น Cyclical Stock รายได้จะโตมากกว่านั้น แต่ลูกค้าใช้บริการครั้งเดียวแล้วหยุดเลยอย่างเช่นพวกบ้านจัดสรร ปีนี้อาจจะดีแต่ปีหน้าไม่รู้แล้ว การคาดเดายากกว่าแต่ก็เป็นโอกาสให้เรามองเห็นช่องที่จะลงทุนได้
"ทุกครั้งหลังวิกฤติธุรกิจยานยนต์และอสังหาริมทรัพย์จะกลับมาเสมอเพราะรัฐบาลจะเข้ามาอุ้มเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ อีกอย่างรถยนต์ตอนนี้เป็นปัจจัยที่ห้าไปแล้ว" หมอสื่อว่าถ้าเรารู้จักสังเกตจะได้กำไรจากวิกฤติอย่างมาก
โฟกัสหุ้น 4 ตัว แทงหนักตัวที่ชอบ
วิธีการเลือกหุ้นของหมอบำรุงจะเลือกแบบโฟกัสหุ้นเพียง 4 ตัว แต่ในพอร์ตจะแบ่งเงินไม่เท่ากันจะใช้วิธีจัดอันดับและใส่เงินในหุ้นที่ "ชอบที่สุด..มากที่สุด" โดยจะดูที่ปัจจัยพื้นฐานก่อนว่าทำธุรกิจอะไร มีข้อได้เปรียบอะไรบ้าง จุดแข็งคืออะไร วิเคราะห์ SWOT (จุดแข็ง-จุดอ่อน-โอกาส-อุปสรรค) ด้วย
หมอเลือกที่จะใช้เวลาในการวิเคราะห์ธุรกิจอย่างหนักในตอนแรกเพื่อที่จะสบายในตอนหลัง โดยเฉพาะงบการเงินจะบอกถึง “สุขภาพ” ของบริษัทนั้นๆ ได้ดีที่สุดว่าคนคนนั้นอ่อนแอหรือแข็งแรง เก่งหรือไม่เก่ง เหมือนกับการวินิจฉัยโรคตามแนวทางของแพทย์
ในงบการเงินสิ่งที่หมอย้ำให้ต้องอ่านอันดับแรกคือ "ความเห็นผู้สอบบัญชี" ว่ามีคอมเมนท์พิเศษที่ไม่ดีหรือเปล่า ถ้าเกินสามย่อหน้า (ตามมาตรฐานบัญชี) นี่ต้องระวังแล้ว
"ช่วงปีแรกๆ ผมไปซื้อหุ้นรอยเนท (ผู้บริหารแต่งบัญชี) เพราะดูแค่งบบรรทัดสุดท้ายกำไรสวยอย่างเดียวลืมดูความเห็นผู้สอบบัญชีที่บอกว่าไม่สามารถออกความเห็นได้ ปรากฏว่าจากนั้นขาดทุนมาตลอด"
ต่อมาคือการประเมิน "ผลกำไรในอนาคต" นักลงทุนควรให้ความสำคัญมากกว่าไปตามข่าวในห้องค้าอย่างเช่นจะแจกวอร์แรนท์ เพิ่มทุน ควบรวมกิจการ บางทีก็พิสูจน์ไม่ได้ แต่ถ้าเราประเมินกำไรในอนาคตได้ยังไงก็ไม่ขาดทุน แต่ขอให้คิดแบบอนุรักษนิยมไว้บ้างอย่าคิดเข้าข้างตัวเองมากไป
ที่สำคัญที่สุดคือ "ราคา" หรือ "Valuation" ว่าถูกหรือไม่ ไม่มีประโยชน์ที่จะซื้อหุ้นแพงแม้ว่าจะดีแค่ไหนเพราะเราจะไม่ได้กำไรแถมอาจขาดทุนด้วย ตัวอย่างรถเบ็นซ์ใครก็รู้ว่าดีแต่มีคนมาขายให้เรา 20 ล้านบาท คงไม่มีใครซื้อเพราะสามารถไปซื้อป้ายแดงที่ราคา 3-4 ล้านบาทก็ได้ แต่ถ้าซื้อของถูกมาก่อนเราสามารถขายต่อให้แพงขึ้นได้ถ้าหุ้นนั้นดีจริง...บทสรุปคือเราต้องรู้มูลค่าที่แท้จริงของกิจการให้ได้ (ไม่จำเป็นต้องเหมือนนักวิเคราะห์)
เขาให้ข้อสังเกตว่าหุ้นแต่ละกลุ่มจะมีค่าพี/อี เรโชที่เหมาะสมต่างกัน หุ้นที่ "หาเช้ากินค่ำ" คือทำธุรกิจไปเรื่อยๆ ควรจะมีค่าพี/อี เรโชที่ 5-7 เท่า แต่หุ้นที่ "เติบโต" ควรมีมากกว่านั้น ส่วนในภาวะ "วิกฤติ" ค่าพี/อี เรโชที่เหมาะสมควรอยู่ที่ 3-4 เท่าถึงจะน่าลงทุน
คุณหมอย้ำว่าหุ้นที่ราคายุติธรรมมักจะไม่ใช่หุ้นตัวใหญ่ที่พวกนักลงทุนสถาบันกับนักวิเคราะห์จับตามอง แบบนั้นจะหาราคาถูกๆ ยาก หุ้นที่ Under Value อาจจะอยู่แบบรอดหูรอดตาเสมอ แต่ต้องระวังหุ้นสภาพคล่องต่ำไว้ด้วย
"พวกนักวิเคราะห์กับสถาบันเขายกหูคุยกับคุณประเสริฐ บุญสัมพันธ์ (ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ปตท.) ได้แต่รายย่อยอย่างเราทำไม่ได้อย่าคิดไปแข่งเลย แต่ขอให้ดูหุ้นที่มีสภาพคล่องการซื้อขายสักวันละ 2-3 ล้านบาทขึ้นไปไม่งั้นเข้าออกลำบาก"
สัปดาห์หน้า..หมอบำรุงจะพาเราไปเจาะลึกถึง "เหตุ" และ "ผล" ในการตัดสินใจ "เลือกซื้อหุ้น" ที่ยกระดับให้เขาก้าวขึ้นเป็นนักลงทุนระดับ "ร้อยล้านบาท" จากหมอบ้านนอกสู่ "เซียนหุ้นวีไอ"