วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555

ลงทุุนสวนกระแสอย่าง แอนโทนี โบลตัน

ที่มา:  http://board.sarut-homesite.net/index.php?topic=12.0


  หลังจากห่างหายการเขียนบอร์ดมานาน วันนี้ได้ฤกษ์ดีเอาความรู้มาฝากเพื่อนๆพี่ๆในบอร์ด ครั้งนี้จะเขียนเกี่ยวกับนักลงทุนที่มีนามว่า  แอนโทนี โบลตัน เขาเป็นผู้จัดการกองทุน Fidelity Special Situation Fund ประเทศอังกฤษ โดยเขาได้เล่าเรื่องราวการลงทุนผ่านตัวอักษรในหนังสือ ‘ลงทุนสวนกระแสอย่างแอนโทนี โบลตัน’ อาจจะยาวไปหน่อยแต่ก็คุ้มค่าที่จะติดตามอ่านนะฮะ ^^ เชิญทุกคนสนุกสนานกับเขาได้เลย


บทที่ 1 วิธีการประเมินบริษัทและความสำคััญของการประชุมกับบริษัท
  • สิ่งที่ควรมองหาในธุรกิจ
              สิ่งแรกที่แอนโทนีจะทำ คือ การวิเคราะห์ที่ตัวบริษัท (ธุรกิจดีขนาดไหน?แฟรนไชส์? เพราะว่ามีความได้เปรียบในเชิงแข่งขัน เพราะว่ามีสาขากระจายไปทั่วทุกสารทิศ ฐานลูกค้าก็จะถูกกระจายออกไป บริษัทมีความยั่งยืนเพียงไร?)
              **ทางด้านคุณปู่วอเร็น ก็ให้ความสนใจในเรื่องของความได้เปรียบเชิงแข่งขันเช่นกัน โดยเขาจะเปรียบเทียบความได้เปรียบเชิงแข่งขันของบริษัทว่าเป็นเหมือน’คูเมือง’ บริษัทชั้นเยี่ยมจะมีคูเมืองที่ลึกและยั่งยืน เพราะยิ่งคูเมืองแข็งแรงเท่าไร ข้าศึกก็โจมตีได้ยากเท่านั้น
              - สิ่งที่โบลตันใช้พิจารณาบริษัท..
                  - ถามคำถามง่ายๆกับตัวเองว่า’มีโอกาสมากน้อยแค่ไหนที่บริษัทแห่งนี้จะยังคงทำธุรกิจอยู่และมีมูลค่ามากยิ่งขึ้นในอีกสิบปีข้างหน้า?
                  - ผมชอบบริษัทที่ควบคุมชะตากรรมของตัวเองได้ และไม่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยเชิงมหภาคมากมายนัก
                  - ความสามารถในการสร้างกระแสเงินสดในระยะกลางของบริษัท เขาเชื่อว่าธุรกิจที่สามารถสร้างกระแสเงินสดมีคุณภาพดีกว่าธุรกิจที่ต้องใช้เงินลงทุนมาก เช่น ธุรกิจบริการกับธุรกิจการผลิต ซึ่งธุรกิจการผลิตจะต้องใช้เงินลงทุนสูงกว่า โดยเขาให้ความสำคัญกับธุรกิจที่สามารถเติบโตได้โดยไม่ต้องใช้เงินลงทุนสูงมาก

  • การไปเยี่ยมชมบริษัท/การพบปะกับบริษัท
               ข้อมูลหลังที่เขาจะใช้ในการตัดสินใจลงทุน ก็คือ ข้อมูลที่ได้จากการพูดคุยกับผู้บริหารของบริษัทที่เขาลงทุนหรือกำลังสนใจจะลงทุน การจะไปพบบริษัทเขาจะเตรียมตัวดูข้อมูลทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณหลายตัวแปร เช่น ราคาหุ้นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา P/E P/B มูลค่ากิจการต่อยอดขาย มูลค่ากิจการต่อกำไรก่อนหักดอกเบี้ย เป็นต้น เขาจะพิจารณาตัวแปรเหล่านี้ตลอดหนึ่งรอบวัฏจักร นอกจากนี้เขายังดูรายงานการซื้อขายหุ้นของผู้บริหาร(ผู้บริหารซื้อเป็นสัญญาณที่ดีที่บอกว่าบริษัทมีการเติบโต ไม่งั้นเขาจะซื้อทำไม??) รายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่ รายชื่อผู้ถือหุ้นสถาบัน ถ้ามีนักลงทุนสถาบันถืออยู่มากแสดงว่าหุ้นตัวนี้ได้รับความสนใจ และนักลงทุนสถาบันเป็นกุญแจสำคัญที่จะขับเคลื่อนให้ราคาหุ้นขึ้น-ลงได้มากกว่านักลงทุนรายย่อย


บทที่ 2 การวิเคราะห์ผู้บริหาร
  • การทำความรู้จักผู้บริหาร
                 โบลตัน ให้ความสำคัญกับความซื่อสัตย์และความเปิดเผยตรงไปตรงมาของผู้บริหารมาก ทั้งนี้ผู้บริหารที่ทำให้เขาประทับใจ คือ ผู้บริหารที่มีความรอบรู้ในตัวธุรกิจ ทั้งในด้านกลยุทธ์ การดำเนินงาน และการเงิน โดยทั่วไปแล้ว เขาจะชอบบริษัทที่ผู้บริหารถือหุ้นด้วย แต่เขาจะให้ความสำคัญกับบริษัทที่ผู้บริหารถือหุ้นอยู่จำนวนมาก(มีนัยสำคัญ) หากพวกเขามีหุ้นอยู่เพียงไม่กี่หุ้น แรงจูงใจหลักของพวกเขาคือ ชื่อเสียงเกรียรติยศที่ได้จากการบริหารแต่เรื่องผลตอบแทนผู้ถือหุ้นจะเป็นเรื่องรองลงมา


บทที่ 3 หุ้น-มีเหตุผลในการตัดสินใจลงทุน 
     “คุณควรมีเหตุผลสำหรับการถือหุ้นทุกตัวของคุณ”
           คุณควรสามารถเขียนสรุปเหตุผลในการซื้อหุ้นตัวหนึ่งๆเพียงสองสามประโยคได้ -ปีเตอร์ ลินซ์ อย่างไรก็ตาม คุณควรคิดถึงเหตุผลที่อาจจะทำให้หุ้นตัวนี้เป็นหุ้นที่แย่ด้วย เพราะไม่ว่าหุ้นจะดีแค่ไหน มักจะมีเหตุผลบางอย่างที่ทำให้นักลงทุนบางคนไม่ชอบหุ้นตัวนี้  แต่ที่สำคัญ “จงลงทุนในสิ่งที่คุณมีความได้เปรียบ”
           สิ่งที่สำคัญที่โบลตันให้ความใส่ใจ คือ คุณควรลืมราคาต้นทุนของคุณซะ เหตุผลในการลงทุนคือ หัวใจ ถ้ามันเปลี่ยนไปในทางที่แย่ลงและหุ้นตัวนี้ไม่น่าซื้อหรือน่าขาย คุณก็ควรจะขาย เพราะการพยายามเอาเงินคืนจากหุ้นที่คุณขาดทุนเพียงเพราะต้องการพิสูจน์ว่าเหตุผลเริ่มแรกของคุณถูกเป็นเรื่องน่าอันตราย(เพราะนอกจากจะขาดทุนแล้ว คุณยังอาจจะสูญเงินต้นทั้งหมดเลยก็ได้)
   ในระยะสั้น ราคาหุ้นจะเป็นไปตามกฎอุปสงค์-อุปทาน แต่ในระยะยาว ราคาหุ้นส่วนใหญ่จะเคลื่อนไหวตามผลกำไรของบริษัท 


บทที่ 4 อารมณ์ของตลาด-มิติเพิ่มเติม
   ‘ในระยะสั้นตลาดหุ้นเหมือนเครื่องลงคะแนนเสียง แต่ในระยะยาวมันเป็นเครื่องชั่งน้ำหนัก’ - เบน เกรแฮม 
           ราคาหุ้นจะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรม ราคาหุ้นที่ร่วงหล่นจะก่อให้เกิดความไม่แน่ใจและความกังวล ราคาหุ้นที่ทะยานขึ้น จะก่อให้เกิดความกล้าและความเชื่อมั่น สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการลงทุน โบรกเกอร์ทุกคนรู้ดีว่าโดยปกติแล้ว การขายหุ้นที่ได้รับความนิยมและกำลังขึ้นให้เราๆในตลาดจะง่ายกว่าการขายหุ้นที่ไม่มีคนนิยมและอยู่ในช่วงขาลง นักลงทุนที่ดีจะต้องพยายามฝืนความรู้สึกอันเป็นธรรมชาติของมนุษย์นี้ 
           “การลงทุนให้ประสบผลสำเร็จ เป็นการผสมผสานกันระหว่างการเชื่อมั่นในความคิดของตัวเองและการเงี่ยหูฟังตลาด คุณไม่อาจประสบความสำเร็จได้ ถ้าคุณละเลยอย่างใดอย่างหนึ่ง”

           พฤติกรรมของนักลงทุนที่ดี
              - เปิดใจกว้าง(open mind) เมื่อเราซื้อหุ้นมาแล้ว มักจะปิดกั้นความคิดที่ว่า การตัดสินใจของเราผิดพลาด 
              - คิดอย่างเป็นอิสระ (free thinking) เราไม่ได้ถูกหรือผิด เพราะฝูงชนไม่เห็นด้วยกับคุณ
              - อย่าเชื่อมั่นเกินเหตุ 
              - เราไม่ควรขายขาดทุนยากเกินไป และขายทำกำไรเร็วเกินไป
              - สำหรับหุ้นแต่ละตัวที่เราถืออยู่ ให้ถามตัวเองว่า เราจะซื้อที่ราคานี้หรือไม่?
      

บทที่ 5 การสร้างพอร์ตโฟลิโอหุ้น
           โบลตัน กล่าวว่า เขาไม่เคยสร้างพอร์ตโฟลิโอที่ใกล้เคียงดัชนี เขาจะตระหนักเสมอว่า หุ้นตัวไหนที่ให้น้ำหนักมาก ตัวไหนน้อย แต่โดยปกติแล้ว เขาจะไม่พยายามขายหุ้นที่ให้น้ำหนักน้อยออกไป เขาจะไม่อยากถือหุ้นถ้าไม่เชื่อว่าราคาหุ้นผิดไปจากมูลค่า และจะไม่ซื้อหุ้นเพียงเพราะมันเป็นหุ้นตัวหลักของดัชนี
            การบริหารเงินลงทุนจะมีความผิดพลาดมากมาย การถูกแค่ 55-60% ก็ถือว่าดีแล้ว ทั้งหมดที่เราต้องการเพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่าก็คือ การซื้อหุ้นเยี่ยมๆ เพียงไม่กี่ตัว โดยมูลค่าเงินลงทุนในหุ้นแต่ละตัวจะสะท้อนถึงระดับความเชื่อมั่นของเขาที่มีต่อหุ้นตัวนั้น,ความเสี่ยงของมันมสภาพคล่อง โดยเขาจะเปลี่ยนแปลงขนาดการลงทุนเมื่อระดับความเชื่อมั่นเปลี่ยนไป เช่น เมื่อมีการพูดคุยกับบริษัทและมีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้น ก็เก็บหุ้นเข้าพอร์ตโฟลิโอเพิ่ม สำหรับหุ้นแต่ละตัว เขาจะซื้อหรือขายไปเรื่อยๆ และจะเปลี่ยนทิศทางก็ต่อเมื่อมีเหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้น ที่สำคัญก็คือ เขาจะทยอยซื้อหรือขายหุ้น ถ้าความเชื่อมั่นของเขาเพิ่มขึ้น เขาจะทยอยซื้อหุ้นเพิ่ม เช่นเดียวกันกับการขาย
           เหตุผลหลักในการตัดสินใจขาย คือ 1) ถ้ามีเหตุการณ์เชิงลบมาหักล้างเหตุผลในการลงทุน  2)ถ้าราคาหุ้นขึ้นไปสูงถึงมูลค่าที่วิเคราะห์ไว้ หรือ 3)เจอหุ้นที่ดีกว่า   

           ‘สุดยอดความมั่งคั่งในประเทศนี้ ไม่ได้เกิดจากพอร์ตโฟลิโอที่ประกอบไปด้วย 50 บริษัท แต่เกิดจากการเสาะหาธุรกิจชั้นเลิศเพียงอย่างเดียว ในการซื้อหุ้นแต่ละตัวคุณควรมีความกล้าและความเชื่อมั่นมากพอที่จะใช้เงินอย่างน้อย 10% ของพอร์ตซื้อ’ - วอเร็น บัฟเฟตต์ 


บทที่ 6 การวิเคราะห์ตัวเลขทางการเงิน
           กองทุน Fidelity ที่โบลตันบริหารกองทุนอยู่นั้น นักวิเคราะห์ทุกคนจะคาดการณ์งบกำไรขาดทุน,งบกระแสเงินสด และงบดุลของบริษัทแต่ละแห่งในอนาคตข้างหน้า หนึ่งในข้อมูลที่สำคัญคือ ตัวเลขกำไรคาดการณ์ และจะนำตัวเลขที่ได้มาเปรียบเทียบกับตัวเลขของนักวิเคราะห์ของหุ้นตัวนั้นๆ ความแตกต่างของตัวเลขมีความสำคัญต่อกระบวนการลงทุนของกองทุนมาก ถ้าเมื่อไรก็ตามที่คุณสงสัยในสถานการณ์ของบริษัท ให้ดูกระแสเงินสด เพราะ ‘เงินสดคือเรื่องจริง ส่วนกำไรเป็นแค่เพียงความฝัน’ - อัลเฟรด แรพพาพอร์ต


บทที่ 7 การประเมินความเสี่ยง
           การซื้อหุ้นของบริษัทที่มีภาระหนี้สินสูงๆ จะคล้ายกับการซื้อหุ้นของบริษัทที่ไม่มีหนี้สินด้วยมาร์จินหลายๆครั้ง เมื่อเหตุการณ์ส่อแววทำท่าจะแย่ ธนาคารจะบังคับให้บริษัทขายแผนกต่างๆออกไป เช่นเดียวกันกับหุ้นในพอร์ตของเรา ถ้าบริษัทมีหนี้สินสูงแล้วทำท่าจะแย่ ราคาหุ้นจะตกต่ำลง ผู้ที่ถือหุ้นอยู่ในมือจะต้องจำยอมขายหุ้น ดังนั้น ราคาซื้อขายของหุ้นจะอยู่ในระดับต่ำกว่าราคาที่บริษัทและนักลงทุนซื้อไว้
           เวลาดูภาระหนี้สิน เราควรดูทั้งเงินกู้ยืมจากธนาคารและหุ้นกู้ นอกจากนี้ยังมีหนี้สินอื่นๆ เช่น ภาระผูกพันในอนาคต,หนี้สินกองทุน และหุ้นบุริมสิทธิ์ที่สามารถถูกไถ่ถอนได้ เป็นต้น ระดับหนี้สินของบริษัทบางแห่งจะขึ้นๆลงๆ ในระหว่างเดือนหรือไตรมาส ในกรณีแบบนี้การดูระดับหนี้สินตอนครึ่งปีหรือปลายปี อาจจะทำให้เราเข้าใจว่า บริษัทมีฐานะการเงินดีกว่าความเป็นจริง อีกทั้งเรายังควรดูตัวเลขดอกเบี่ยจ่าย ซึ่งมันจะช่วยยืนยันระดับหนี้สินเฉลี่ยของบริษัทด้วย
   
‘การขาดทุนที่ร้ายแรงที่สุดเกิดจากบริษัทที่มีงบดุลย่ำแย่’ - Peter Lynch


บทที่ 8 การประเมินมูลค่าหุ้น
            สำหรับแอนโทนี เขาไม่มีวิธีการประเมินมูลค่าหุ้นด้วยตัวแปรตัวใดตัวหนึ่ง แต่จะวัดมูลค่าหลายๆตัว จะดูทั้งมูลค่าเชิงเปรียบเทียบและมูลค่าของตัวมันเอง (Absolute Basis) สำหรับบริษัทส่วนใหญ่ที่ไม่ได้อยู่ในภาคการเงิน เขาจะดูอัตราส่วนห้าตัวหลัก 
              ตัวแรก คือ ค่าP/E ในปีปัจจุบันและในอีกสองปีข้างหน้า โดยเขาจะดูทั้งค่า Relative P/E และค่า Absolute P/E (ซึ่งเป็นค่าP/E จองหุ้นตัวนั้นๆเอง) 
              ตัวที่สอง อัตราส่วนมูลค่ากิจการต่อกระแสเงินสดขั้นต้นคาดการณ์ (EV/EBITDA) 
              สาม พิจารณากระแสเงินสดอิสระคาดการณ์ 
              สี่ Price to Sales หรือ EV to sales ตัววัดพวกนี้มีประโยชน์สำหรับบริษัทที่กำลังขาดทุนหรือมีกำไรต่ำ 
             ห้า คือการดูกระแสเงินสดตอบแทนจากการลงทุน ควบคู่กับการเปรียบเทียบราคาหุ้นกับจำนวนเงินลงทุน
           ซึ่งแต่ละอุตสาหกรรมจะไม่สามารถใช้ตัวชี้วัดตัวเดียวกันในการประเมินมูลค่าของบริษํทได้ อย่างเช่น อัตราส่วนP/BV จะมีประโยชน์กับหุ้นกลุ่มรับสร้างบ้าน แต่ P/E จะไม่เหมาะกับหุ้นกลุ่มนี้ เนื่องจากผลกำไรจากการขายที่ดินไม่ได้เกิดซ้ำๆกันทุกปี


บทที่ 9 เป้าหมายของการถูกซื้อกิจการ
           หนึ่งในสิ่งดีๆ เกี่ยวกับการถือครองหุ้น คือ บางครั้ง บริษัทจะถูกซื้อกิจการในราคาพรีเมี่ยม โดยเฉลี่ยแล้ว การซื้อกิจการมักจะอยู่ในระดับราคาสูงกว่าราคาหุ้นล่าสุด 25-30% และในบางครั้ง หากมีการแข่งขันกันซื้อ ราคาซื้อก็อาจจะสูงกว่านั้นอีกมาก ดังนั้น การเสาะหาหุ้นที่มีโอกาสถูกซื้อกิจการจะทำให้นักลงทุนมีโอกาสได้รับผลตอบแทนสูงขึ้น (ถึงแม้ว่าจะหายากก็ตามที)
           อีกแง่มุมหนึ่งที่สามารถให้เบาะแสของความเป็นไปได้ในการถูกซื้อกิจการแก่เราก็คือ การวิเคราะห์รายชื่อผู้ถือหุ้น หากบริษัทมีผู้ถือหุ้นหรือกลุ่มผู้มีถือหุ้นที่มีอำนาจควบคุมบริษัท การเทคโอเวอร์จะขึ้นอยู่กับความเห็นของพวกเขา อย่างไรก็ตาม ถ้าบริษัทมีผู้ถือหุ้นขนาดใหญ่หนึ่งหรือสองรายแต่ไม่ถึงขนาดมีอำนาจควบคุมบริษํท ผู้ถือหุ้นจะอยู่ในฐานะเปราะบางกว่า ในกรณีข้างต้น ผู้เสนอซื้อจะรู้ว่า ถ้าพวกเขาสามารถได้รับความเห็นชอบจากผู้ถือหุ้นขนาดใหญ่สองหรือสามราย โอกาสการซื้อกิจการได้สำเร็จจะมีสูง บริษัทซึ่งไม่มีผู้ถือหุ้นที่มีอำนาจควบคุมและมีเงินสดส่วนเกินจำนวนมาก จะมีโอกาสถูกเทคโอเวอร์มาก

‘การเน้นไปยังบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็ก จะทำให้หุ้นที่คุณถืออยู่มีโอกาสถูกซื้อกิจการมากขึ้น’ - Anthony Bolton 


บทที่ 10 ประเภทหุ้นสุดโปรดของแอนโทนี
           หัวใจของแนวทางการลงทุนของโบลตัน คือการซื้อหุ้นฟื้นตัวในระดับราคาที่น่าสนใจ บริษัทเหล่านี้มักเป็นธุรกิจที่มีผลการดำเนินงานย่ำแย่มาช่วงระยะเวลาหนึ่ง ทำให้นักลงทุนไม่อยากเข้าไปเกี่ยวข้องหรือให้ความสนใจและอาจพลาดโอกาสในการลงทุนไป
           หุ้นฟื้นตัวที่ดีที่สุด คือหุ้นของบริษัทที่มีผู้บริหารคนใหม่เข้ามาและผู้บริหารรู้ว่า บริษัทล้าหลังคู่แข่งในด้านไหน และมีแผนชัดเจนที่จะทำให้ผลการดำเนินงานของบริษัทกลับไปทัดเทียมกับคู่แข่ง
           การซื้อหุ้นฟื้นตัวมักจะต้องซื้อหุ้นก่อนที่เราจะมีข้อมูลทั้งหมดก่อน และซื้อในจังหวะที่การซื้อก่อให้เกิดความรู้สึกไม่ค่อยสบายใจ บางครั้ง เขาจะซื้อหุ้นในจำนวนน้อยๆก่อน แล้วซื้อเพิ่มเมื่อมั่นใจมากขึ้น
           นอกจากหุ้นฟื้นตัว โบลตันยังชอบบริษํทที่ราคาหุ้นซื้อขายกันในระดับต่ำกว่ามูลค่าสินทรัพย์,บริษัทโตเร็วที่คนไม่ค่อยรับรู้,บริษัทที่ตลาดให้ราคาผิด(เช่น หุ้นที่ถูกที่สุดในกลุ่ม แต่เราไม่คิดว่ามันไม่น่าถูกที่สุด) และบริษัทที่มีโอกาสเทคโอเวอร์


บทที่ 11 วิธีการเทรด
           เนื้อหาในบทนี้จะเกี่ยวกับการซื้อ-ขายหุ้น ผ่านเทรดเดอร์และพูดถึงทีมงานของโบลตัน เขากล่าวว่าการเทรดหุ้นโดยมีทีมเทรดเดอร์มาช่วย จะเป็นการใช้ทรัพยากรที่คุ้มค่า เพราะเขาสามารถนำเวลาไปศึกษาหุ้นได้


บทที่ 12 การวิเคราะห์ทางเทคนิคและความสำคัญของกราฟ
           เมื่อไรก็ตามที่แอนโทนีได้ยินข่าวอันน่าสนใจกี่ยวกับบริษัท ที่เขาขาดการติดตาม สิ่งแรกที่เขาดูก็คือ กราฟราคาหุ้น เพราะเขาต้องการรู้ว่า สิ่งที่เขาได้ยินมานั้นมีนักลงทุนจำนวนมาก-น้อยเข้ามาซื้อหุ้นเพราะข่าวนี้ไปแล้วมากเท่าใด
           ถ้าการวิเคราะห์ทางเทคนิคยืนยันมุมมองเชิงปัจจัยพื้นฐาน เขาก็จะซื้อหุ้นตัวนั้น มากขึ้นกว่าในกรณีตรงข้าม อย่างไรก็ตาม หากการวิเคราะห์ทางเทคนิคไม่ยืนยันมุมมองเชิงปัจจัยพื้นฐาน  เขาก็จะทบทวนการวิเคราะห์บริษัทอีกครั้งว่ามีปัจจัยเชิงลบอะไรที่มองข้ามไปหรือเปล่า ถ้าเชื่อมั่นเต็มเปี่ยม บ่อยครั้ง เขาจะมองข้ามมุมมองทางเทคนิคและบางครั้ง ถ้ามันขัดแย้งกัน เขาจะซื้อหุ้นในจำนวนน้อยลง หรือขายหุ้นออกไปบ้าง
‘หาระบบที่ใช้ได้ผลสำหรับคุณ และใช้มันไปตลอด’


บทที่ 13 แหล่งข้อมูลที่ใช้
           ในบทนี้แอนโทนี โบลตัน จะกล่าวถึงข้อมูลจากแหล่งต่างๆไม่ว่าจะเป็นบทวิเคราะห์จากบริษัท, หนังสือพิมพ์, ข่าวโทรทัศน์ ,อีเมลล์ เป็นสิ่งที่สำคัญเพื่อใช้ในการประกอบการตัดสินใจซื้อหุ้นตัวหนึ่งๆ แต่หัวใจที่สำคัญคือการตรวจสอบและเปรียบเทียบข้อมูลเหล่านี้ที่ได้มา
           ‘ปัญหาเชิงสติปัญญาข้อใหญ่ที่สุดของนักลงทุนน่าจะเป็นการรับมือกับเสียงรบกวนและการพูดพล่ามแบบไม่มีสาระ เสียงรบกวนคือข้อมูลระยะสั้นจากภายนอกซึ่งมีลักษณะแบบสุ่ม และไม่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจลงทุน การพูดพล่ามแบบไม่มีสาระและการให้ความเห็นเรื่อยเปื่อยของคนที่ดูมีเจตนาดีและน่าสนใจ งานใหญ่ของนักลงทุนผู้มั่งมั่นก็คือการกลั่นกรองข้อมูลข่าวสารและความคิดเห็นกองมหึมาออกมาเป็นความรู้ จากนั้นก็สกัดความหมายทางการลงทุนออกมาจากมัน’ - บาร์ตัน บิกส์


บทที่ 14 ความสำคัญของโบรกเกอร์
           ‘อย่าทำธุรกิจกับคนที่คุณยังไม่เคยเห็นหน้า’ ดังนั้นโบลตันจะทำการพบปะกับโบรกเกอร์อย่างน้อยปีละสองครั้ง ซึ่งเขามักจะบอกให้พวกเขาหาความคิดดีๆมาคุยกัน เขาคิดว่า การทำความรู้จักกับคนปลายสายโทรศัพท์(โบรกเกอร์) และการใช้เวลาสร้างความสัมพันธ์เป็นเรื่องสำคัญ 

           ‘เราไม่จำเป็นต้องเป็นคนที่ได้รับโทรศัพท์จากโบรกเกอร์เป็นคนแรก เราไม่จำเป็นต้องรู้คำแนะนำซื้อขายของพวกเขาในนาทีแรก แต่สิ่งที่เราต้องรู้ก็คือ พวกเขามีความเชื่อมั่นมากขนาดไหน และอะไรคือเหตุผล’


บทที่ 15 การจับจังหวะตลาดและกลไกของตลาด
           ตลาดหุ้นเป็นตัวสะท้อนอนาคตชั้นเยี่ยม ความเคลื่อนไหวของตลาดจะอ้างอิงจากสิ่งที่นักลงทุนโดยรวมคาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วง6-12 เดือนข้างหน้า จากประสบการณ์ของโบลตัน การคาดการณ์ทิศทางตลาดเป็นเรื่องยากมากๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การคาดการณ์ให้ถูกต้องอย่างต่อเนื่อง โดยทั่วไปแล้ว นักลงทุนควรหลีกเลี่ยงการคาดการณ์และการจับจังหวะตลาด มันเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่จะมองโลกในแง่ดีมากขึ้นในขณะที่ตลาดกำลังปรับตัวขึ้น และมองโลกในแง่ร้ายลงตอนที่ตลาดกำลังตก เนื่องจากข่าวสารโดยรวมจะมีทิศทางแบบนั้น คนจับจังหวะตลาดที่ประสบความสำเร็จต้องสามารถคิดสวนทางกับอารมณ์โดยรวมของตลาดได้ และยังต้องสามารถควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้อีกด้วย

           เมื่อไรก็ตามที่เขาจะประเมินแนวโน้มตลาด เขาจะให้น้ำหนักกับปัจจับสามอย่าง แต่สิ่งที่เขาไม่ดูเลยก็คือ แนวโน้มเศรษฐกิจ เนื่องจากมันดูดีเยี่ยมที่จุดสูงสุดของตลาด และดูเลวร้ายเกินที่จุดต่ำสุด ปัจจัยสามอย่าง คือ 
                         1)รูปแบบของตลาดกระทิงและตลาดหมีในอดีต 
                         2)ตัวชี้วัดอารมณ์และพฤติกรรมของนักลงทุน เช่น อัตราส่วนระหว่าง put และ call option, ความผันผวน, สัดส่วนของหุ้นที่มีราคาเพิ่มสูงขึ้นและหุ้นที่มีราคาลดลง เป็นต้น 
                         3)ตัววัดมูลค่าในระยะยาว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อัตราส่วนราคาต่อมูลค่าตามบัญชีและกระแสเงินสดอิสระ จากประสบการณ์ของเขา ถ้าปัจจัยทั้งสามอย่างนี้ยืนยันกันและกัน ตลาดน่าจะอยู่ใกล้จุดกลับตัวแล้ว


บทที่ 16 ควรทำอย่างไรเมื่อผลงานคุณออกมาไม่ดี
  • อย่าดื้อรั้นยึดติดกับมุมมองของคุณมากเกินไป แต่ก็อย่าถึงขนาดสูญเสียความเชื่อมั่นไปจนหมด
  • อย่าต้อนตัวเองให้จนมุมกับมุมมองของตัวเอง
  • เปิดใจกว้างฟังคำแนะนำของคนอื่นเกี่ยวกับข้อผิดพลาดของคุณ
  • การเปิดใจกว้างรับฟังมุมมองอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มุมมองที่ขัดแย้งกับมุมมองของเราเอง
  • อย่าโยนหลักการของคุณทิ้ง อย่าพยายามเปลี่ยนไปใช้วิธีการใหม่ที่คุณไม่เชื่อถือ
  • ใช้เวลาให้มากพอกับการมองหาหุ้นตัวใหม่ๆ ไม่ใช่แต่คอยติดตามหุ้นที่คุณมีอยู่เท่านั้น
  • นอกจากการตรวจสอบหุ้นแต่ละตัว คุณควรดูลักษณะพอร์ตโฟลิโอด้วยว่า มันสะท้อนระดับความเชื่อมั่นของคุณหรือเปล่า หุ้นซึ่งคุณมีความเชื่อมั่นมากที่สุดมีสัดส่วนมากพอหรือเปล่า?
  • อย่าปกป้องตัวเองด้วยการตัวเองว่า มันเป็นพรหมลิิตและคุณไม่สามารถทำอะไรเพื่อให้สถานการณ์ดีขึ้นได้ และอย่าปลีกตัวออกจากเพื่อนร่วมงานและลูกค้า
  • ท้ายที่สุด เมื่อผลงานของคุณพลิกกลับคืนมาดีอีกครั้ง แย่าลืมวันอันแสนเลวร้าย อย่าหลงคิดไปว่าตัวเองเป็นเซียนเดินบนผิวน้ำได้

       หวังว่าทุกคนจะเพลิดเพลินไปกับการอ่านบทความที่คุดสรรมาให้เพื่อนๆทุกคน ^^ แล้วเจอกันกับเล่มต่อไป See youu

วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ลิ้งค์ดูงบการเงินย้อนหลัง

จาำก Thaivi.org  คุณ


http://capital.sec.or.th/webapp/corp_fin2/cgi-bin/findFS.php?lang=t&ref_id=74&content_id=1

update jun 2555

โดยทั่วไป ข้อมูล เกือบทุกที่ จะ มี แค่ 3-5ปี สำหรับ free ไม่ใช่ Premium Members
ซึ่งได้แก่
1. http://www.bloomberg.com/quote/DTAC:TB/income-statement
ได้ ทั้ง Q2Q 5 Q กับ yoy กดตรง annual ได้ 2 ปี

2. http://investing.businessweek.com/research/stocks/financials/financials.asp?ticker=mbk:TB
ได้ yoy 4 ปี Quarterly 4Q

3. http://data.cnbc.com/quotes/MAJO.BK/tab/7.2
ได้ 4ปี quarterly 5Q

4. http://markets.ft.com/research/Markets/Tearsheets/Financials?s=ADVANC:SET&subview=IncomeStatement
ได้ 3ปี interim ได้ 3Q

5. ส่วน ของไทย ตามใช้ประจำ มี
5.1 http://www.set.or.th/set/companyhighlight.do?symbol=advanc&language=th&country=TH
4ปี + 1ไตรมาส ล่าสุด
5.2 http://www.settrade.com/C04_03_stock_companyhighlight_p1.jsp?txtSymbol=sta&selectPage=3
5ปี
5.4 http://www.set.or.th/set/factsheet.do?symbol=STA&language=th&country=TH
2ปี + 2Q
5.5 กลต. งบ ย้อนหลัง หรือ รายงานประจำปี ย้อนหลัง
http://capital.sec.or.th/webapp/corp_fin/cgi-bin/findFS.php?lang=t&ref_id=&content_id=1
ต.ย. KYE
มีย้อนไปถึงปี 2543
http://capital.sec.or.th/webapp/corp_fin/cgi-bin/resultFS.php?from_page=findFS&lang=T&cmb_comp_id=0386

....
ส่วน ชอบเป็นพิเศษ
ใช้ประจำ
6. หน้านี้ เป็น งบ ย้อน หลัง Filing Financial ไปถึง 09/2003
http://quicktake.morningstar.com/StockNet/SECDocuments.aspx?Symbol=KYE&Country=THA
6.1 หน้ารวม ใช้ xbkk:KYE
http://quote.morningstar.com/stock/s.aspx?t=xbkk:kye
6.2 หน้า งบ5ปี +TTM
http://financials.morningstar.com/income-statement/is.html?t=KYE&region=THA&culture=en-US

เอาไว้ด้วยกัน ..
http://performance.morningstar.com/stock/performance-return.action?p=price_history_page&t=KYE&region=THA&culture=en-us
ราคาหุ้น
รายวัน สัปดาห์ เดือน q หรือ y ย้อนหลัง 10ปี

คุณก๊อบ

------------------------------------------------------------------------------
ที่มา http://panwasit-stock.blogspot.com/2012/08/vi-22555-gobkung.html

ย้อนรอยตำนาน VI ไตรมาส 2/2555 (Gobkung)

ก็ เข้าเรื่องเลยนะ

คุณ พงศกร เอื้อชวาลวงศ์ หรือที่เรารูจักกันในนาม Gobkung เจ้าของ Mind Investing Blog

เริ่มต้นจากการเข้ามาในตลาด เพื่อหาผลตอบแทนที่มากกว่า จนกระทั่งมากเจอ Thaivi 

มอง ธุรกิจที่เติบโต เป็นหลัก เพราะสร้างผลตอบแทนให้ระยะยาว โดยเนื้อหาทั้งหมดคือ

  • อนาคตมีความสำคัญกับ ธุรกิจยังไร เป็นเพื่อน เป็นศัตรู หัดมองอนาคตไว้ 
  • ดูพฤติกรรมลูกค้า ดู Business model ว่าเป็นอย่างไร
  • การคัดเลือกของธรรมชาติ โดยปกติธรรมดชาติ ผู้ที่แข็งแกร่งที่สุด จะอยู่รอด ที่เหลือ ตาย ความแข็งแรงของธุรกิจก็เหมือนกัน 
  • การเลือกหุ้น (สำหรับคนที่ไม่มีเวลาว่างมาก ทำงานประจำ)
  • การเติบโตยังไง ช่องทางต่างๆ อะไรคือการเติบโต 
  • การพัฒนาตัวเอง
VI คือการที่ ซื้อหุ้น จากธุรกิจ (เป็นหุ้นส่วนในธุรกิจ) และซื้อเมื่อราคาต่ำกว่ามูลค่า มีupside

การซื้อหุ้นเติบโตดูจากตัวบริษัทเป็นหลัก แล้วค่อยดูราคา (MOS)
ไม่ใช่แค่หุ้นถูก ต้องดูว่า โตหรือไม่ 
ให้ดู ความสามารถในการเติบโต มากกว่าดู PE 

โครงสร้างทางความคิด แต่ละคนจะรู้อย่าง ไม่รู้อย่าง

มาถึงตอนนี้ พี่เขาบอกไม่ต้องจด เพราะมีแจกใน บล็อค เหอะๆ 
หุ้นมี 6 ประเภท คือ 
  • โตช้า , แข็งแรง , โตเร็ว
  • turn around , asset play , วัฎจักร
หุ้นเติบโต อาจเป็นหุ้นปันผลก็ได้ เป็นหุ้นวัฎจักรก็ได้ (แต่ขาลง ตัวใครตัวมัน)
หุ้น turn around ก็อาจเป็นหุ้นเติบโตได้ (เปลี่ยนธุรกิจ)
หุ้นวัฎจักร ขาขึ้นเป็นได้
Asset Play ก็เหมือนกัน 

ดังนั้นอย่าคิดว่า หุ้นชื่อนี้ ต้องเป็นหุ้น เติบโต

หุ้นเติบโต เป็หุ้นที่มองไปอนาคต ไม่ใช่ปัจจุบัน โดยต้องมองทั้ง คุณภาพ และ ปริมาณด้วย
asset play , ปันผล เป็นหุ้นที่มองในปัจจุบัน

อย่าไปดู PBV มาก ให้ดูว่า เติบโตหรือเปล่า ถ้าใช่ หุ้นตัวนั้นคือหุ้นเติบโต
(PBV ไว้ดูเวลาหุ้นจะเจ็ง หุ้นโตเร็วคงไม่เจ็งหรอนะ)

การดูหุ้นที่มีศักยภาพในการเติบโต ไม่ใช่ดูที่ PE แต่ส่วนใหญ่หุ้นที่เติบโต PE มักสูง 
PE เป็นการใช้ดูมูลค่าเฉยๆ 

ทำไมต้องลงุทนหุ้นโตเร็ว
  • ถือระยะยาวได้ ไม่ต้องมาเฝ้าจอ และชนะตลาด
  • ไม่ต้องเชียร์ เพราะจะมี driver ต่างๆ ด้วยตัวมันเอง
  • ไม่ว่าจะ VI สายไหน ก็ต้องเข้าใจ หุ้นเติบโต
  • ควรจะมีติดพอร์ทไว้เสมอ
ถ้าจะซื้อหุ้นซักตัวทำไงดี
  1. รอวิกฤต 
  2. หาหุ้นที่เติบโต และรอซื้อเมื่อมี MOS จากนั้น เก็บยาว จนมันไม่โต
คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่า VI = PE PBV ต่ำๆ 
อย่างน้อย ไม่มี MOS  แต่ถ้ารู้ว่า บริษัทดี ก็จะได้กล้าซื้อ 

การลงทุนในหุ้น เป็นการมองอนาคตโดยตรง เพราะคนที่ซื้อเพราะอนาคตทั้งนั้น ทั้งสั้น ทั้งยาว โดยหวังส่วนต่าง ซึ่งคือการคาดการณ์อนาคตทั้งสิ้น

อนาคต คืออะไร
  • อนาคตเป็นสิ่งที่ไม่สามารถรับรู้ได้เลย บางครั้งถูก ก็เป็นเพียงความโชคดีเท่านั้น
  • คนมักฟังอนาคตจากเซียน เพราะคนมักกลัวในอนาคตที่ตัวเองคาด
  • ที่ต้องเข้าใจคือ พื้นฐานกิจการในอนาคต คิดหลายๆแบบ ทั้ง แย่ ปานกลาง ดี เผื่ออนาคตไว้
  • ส่วนใหญ่ก็มักเก็งกำไรรายไตรมาส สุดท้ายก็ sell on fact (แต่ถ้ากำไรตก ตัวใครตัวมัน)
  • ไม่ว่าจะเป็นการซื้อดักงบ opp day visit ก็เป็นการทำนายอนาคตทั้งนั้น
คำแนะนำ
  • อนาคตเป็นเรื่องของความน่าจะเป็นมากกว่า มองโอกาส ความเสี่ยง 
  • เลิกเชื่อคนอื่น จนกว่าจะคิดเองได้
  • มองเห็นปัจจุบัน จนอนาคต ด้วย ปัจจัยภายนอก ภายใน trend ของคน การวิเคราะห์ ทั้งปริมาณ และคุณภาพ
  • MOS และกระจายความเสี่ยงให้เหมาะสม
  • ต้องเข้าใจว่า ธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไม่ใช้นิ่ง ต้องประเมินไปด้วย (รายปี)
  • ไม่คิดถึง ราคาเป้าหมายหุ้น แต่มองเป็นช่วงราคาดีกว่่า (ไม่กำหนดราคาเป้าหมายเป็นตัวเลข)
  • เวลาเป็นสิ่งมีค่า เปลี่ยนแปลงได้ทุกอย่าง อย่างมีเหตุและผล
  • ต้องรู้เหตุปัจจัยให้มากที่สุดจะทำให้ทำนายอนาคตได้แม่นยำ (แต่ขนาดนิวตันยังติดดอย) 
  • เมื่อเวลาบวก ธุรกิจที่ดี จะกลายเป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยม
  • ทักษะ ความอึด อดทน
  • ตลาดมักให้หุ้นที่ดี เติบโต PE สูง แต่ไม่แน่เสมอไป 
  • ซื้อหุ้นที่เติบโต แพงไป ย่อมไม่ดี 
เช่น หุ้น A โต 5% ใช้เวลา 10 ปีถ้า PE เท่าเดิม ก็จะได้กำไร 63% 
หุ้น B โต 20%  ใช้เวลา 10 ปี กำไรจะโต 615% 
กรณี PE คงเดิม ก็จะได้ 515% 
กรณี PE ลดลง กำไรที่จะได้ลดลงเหมือนกัน
กรณี PE ตอนซื้อ แพง กำไรก็ลดลงเหมือนกัน

สำหรับหุ้นเติบโต เวลาเป็นเพื่อนที่ดีเสมอ ยิ่งนาน ยิ่งเสี่ยงน้อย 
แต่หุ้น turn around cycle ถือยาวไม่ได้ 

การมองก็ต้องมีระยะที่เหมาะสม อย่าง TV มองใกล้ก็เห็นเป็นสี่เหลืยมๆ อย่างเชื้อโรค ก็ต้องมองผ่านกล้อง
การมองธุรกิจ ก็ต้องเห็นการโตที่ชัดเจน ต้องมองตามที่เราคาดการณ์ได้ แนะนำให้มองเป็นปีๆ 

ให้หาบริษัทที่มีอนาคต หลายๆคนมักมองอดีต การมองงบการเงินอาจจะช้าไป ให้เราคาดการณ์ไว้ก่อน แล้วค่อยดูงบการเงินเป็นตัวยืนยันที่หลัง

การดูว่าธุรกิจไหนจะเติบโต ดูจาก
  • การใช้ชีวิตของผู้คน
  • ดูประเทศที่พัฒนาแล้ว ประเทศที่เหลือ มักจะตามๆกันไป
  • ดูเรื่องของการจิตนาการเป็นหลัก
  • ต้องรู้ในธุรกิจพอสมควร
  • ดููการเติบโตด้วยว่ามีไม  แล้วอยู่ช่วงไหน จุดเริ่มต้น ต่อเนื่อง จุดอิ่มตัว
  • ดูปัจัยภายนอก ภายใน
  • พฤติกรรมมนุษย์ เป็นไง ดู supply Demand เช่น คนเดินห้าง ดื่มน้ำเพื่อสุขภาพ มือถือ กล้องดิจิตอล
  • การต้องการ จะเริ่มจาก คนนึงสร้างความต้องการ จนคนเริ่มตามๆกันมา สุดท้ายเหมือนสังคมต้องการ จะกลายเป็น trend 
ความต้องการของมนุษย์
  • ปัจจัย 4 อาหาร บ้าน เสื้อ ยาโรงบาล
  • เป็นที่ยอมรับ (ธุรกิจ ความงาม แฟชั่น แบรนค์)
  • ค้นหาตัวเอง พัฒนา หนังสือ Social network 
  • ความง่าย สะดวก
  • เป็นกลุ่มๆ ตามกันไป
  • ราคาถูก ถูกที่ใจนะ 
  • สะดวก ทันใจ
  • หนีความทุก
  • เข้าหาความสุข
ดูตัวเอง คนใกล้ตัว รอบๆตัว คนที่ประเทศพัฒนาแล้ว 

คนมักไม่รู้ว่า ตัวเองต้องการอะไร

การดูธุรกิจ ที่เติบโตให้ดูทั้งแต่ ผู้บริหาร ทั้งระบบ End product สายพาน
ถ้าบริษัท ไม่มีแรงจูงใจ เฉยๆ ก็เน่า 
ถ้าบริษัท ไม่มีความสามารถในการแข่งขัน ก็เน่า 

Mega Trend
  • AEC 
    • การขยายตลาด โอกาศของธุรกิจที่มีความสามารถ
    • โอกาสไปลงทุนประเทศกำลังพัฒนา 
    • การเติบโตของ Logistis 
    • แรงงานราคาถูก 
    • การย้ายฐานการผลิต
    • ไทย ก็จะมี การท่องเที่ยว การแพทย์ ศุนย์กลางการขนส่ง ที่น่าสนใจ
  • สังคมคนแก่ 
  • ผู้หญิง มีรายได้ มีกำลังซื้อสินค้า 
  • จีน อินเดีย เอเชีย
  • คนย้ายมาอยู่ในเมื่องมากขึ้น
  • คนแต่งงานน้อยลง มีลูกน้อย ให้ลูกอยู่ดีกินดี
  • พลังงาน พลังงานทางเลือก(โดนบีบ)
  • Modren Trade 
  • internet ,E-com,Socal network
  • Logistis , ขนส่ง ต่างๆ
  • อาหาร ที่มีคุณภาพสูง เพื่อสุภาพ
  • ชนชั้นกลางเพิ่มขึ้น (ใช้ชีวิตดีขึ้น)
  • คนสนใจลงทุนกันมากขึ้น
การหาธุรกิจเป็นะระบบ
  • ต่อยอด Mega trend
  • แน้วโน้มต่างๆ เช่น 
    • smart phone ก็จะเป็น ธุรกิจ สัญญาณ ชิ้นส่วนโทรสับ ขาย บริการอินเตอร์เน็ต App E-com 
    • คอนโด ก็จะเป็น คอนโด วัสดุ BTS เฟอร์นิเจอร์ น้ำ ไฟฟ้า อินเตอร์เน็ต
  • คิดเชิงระบบ (ธุรกิจที่เกี่ยวข้อง)
ต้องดูด้วยว่า รายได้ ต่อ รายได้ที่โตด้วย (อย่างรายได้ของบริษัทที่โตเยอะๆ เป็นส่วนเล็กๆของรายได้ที่ไม่โต)

เรื่อง ผู้บริหาร 
  • แรงจูงใจให้โต ผลประโยชน์ (ถ้าถือเกิน 50% ก็น่าสนใจ)
  • ซื่อสัตย์ ตรวจสอบประวัติการทำงาน ข้อมูลที่ให้ต่างๆ
  • ความสามารถ แนวคิด วิสัยทัศน์ ผลประกอบการ
หุ้น IPO มี 4 แบบ
  1. อิ่มตัว เข้ามาเพื่อหาที่ออก
  2. เพื่อทุนอยากโต
  3. หลอกเอาเงิน
  4. เพื่มทุนเพราะอยากฟื้น
ดูปัจจัยต่างๆ 
  • ทุนนิยม 
  • Demand Trend  
  • การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี 
  • การพัฒนาสินค้าทดแทน ที่ดีกว่า หรือถูกกว่า
  • ความสามารถในการแข่งขัน การปรับตัว 
  • มาตราการ นโยบายต่างๆ 
  • ปัจจัยภายนอก สภาพแวดล้อม Demand 
  • ปัจจัยภายใน DCA ต่างๆ
  • การเพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการ ยิ่งมาก ยิ่งดี margin จะสูง
กำไรมาจากไหน 
รายได้ - รายจ่าย = กำไร 
ลองดูขนาดตลาดโดยรวมว่าโตไม 
ส่วนแบางการตลาด แย่งได้ไม 
พยายามหา บริษัท ที่ตลาดโต และ market shard สูงขึ้น (แย่งลูกค้าได้)

หาบริษัท ที่อุตสากรรมไม่บูม จะได้หาได้ (ที่บูมมันแพง)

ดู 56-1 คู่แข่ง คนใกล้ตัวด้วย

การออกสินค้าใหม่ การขึ้นราคา

ต้นทุนที่ลดลง ต้นทุนต่อหน่วยที่ลดลง 

กำไรเพิ่มขึ้นจาก
รายได้เพิ่ม ต้นทุนเพิ่ม ในสัดส่วนเท่ากัน NPM จะเท่าเดิม 
รายได้เพิ่ม ต้นทุน เพิ่มน้อยกว่า NPM จะสูงงขึ้น
รายได้เพ่ิม ต้นทุนลด ยิ่งดี

ความสามารถในการแข่งขัน 
  • อุตสาหกรรม ที่แข่งง่าย ก็จะเข้ามากันเยอะ แต่ถ้าแข่งยาก ก็จะไม่ยอมออกกัน 
  • ดังนั้น หาธุรกิจ ที่มี DCA ทำได้ดีกว่าคู่แข่ง 
  • DCA Brand ต้นทุนต่ำ ฝ่ายMarketing เก่งกว่า
  • ขายเร็ว turnover rate สูง 
  • ทีมวิจัยชั้นเลิศ ไม่ตามคนอื่น
  • คุณภาพสินค้า บริการที่ดี
  • มี Commecting กับลูกค้ามานาน
การประเมิน งบการเงิน เป็นการประเมินในอดีต 
ธุรกิจที่ดี Margin สูง ขายได้เยอะ 

กาดูงบ ให้ดู
  • การเติบโต 
  • คุณภาพการเติบโต
  • กระแสเงินสด 
  • ความแข็งแรงของงบ
  • การเปลี่ยนแปลงพื้นฐาน
  • ดูความน่าเชื่อถือด้วย (ดูคอมเม้นของคนรายงานบัญชี)
  • ดูรายได้โตไม เพราะอะไร
  • ต้นทุนเพิ่ม เพราะอะไร
  • กำไรสุทธิจากการดำเนินงาน เพิ่มขึ้นไม
  • คูณถาพของกำไร GPM 
  • การหมุนสินค้า DeadStock
ROE ให้ประเมิน Forward ROE ให้ดูเทียบกับธุรกิจที่ใกล้เคียง คู่แข่งดู
ROE สูง ไม่ใช่คำตอบเสมอไป ต้องดูการเติบโตของกำไรด้วย ถ้ากำไรแต่ปันผลหมด ROE ก็สูงแต่ไม่โต 
อาจให้ ROTC ด้วยก็ได้ 
ROE ควรมากกว่า 15% 
กำไรจะเพิ่มจากส่วนทุนที่้เพิ่มด้วย 

การตรวจกระแสเงินสด
ดูว่า รายได้เพิ่มจากไหน กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน ควรเป็น บวก 
ในช่วงแรกของการลงทุน เงินลงทุนอาจจะ ติดลบมาก ทำให้ดูแย่
ดูโดยรวมว่า กู้ได้ไม มีเพดาน ดูหนี้ต่างๆ ระวังเรื่องการเพิ่มทุน 
เทียบดอกเบี้ยระยะสั้นกับ กระแสเงินสดด้วย
ควรให้ D/E น้อยกว่า 1 มีเพดานกู้ มีหนี้ไม่มีดอกก็ดี

ตรวจสอบการเปลี่ยนแปลง รายได้ รายจ่าย การลดต้นทุน GPM 

ไม่แนะนำให้ดู PBV  ให้ดูกระแสเงินสดดีกว่า

สมุมุติ ต้นยาง เป็นหุ้น 
ราคาไม้ยาง คือ BV 
ราคายางคือ กำไร
การดูกำไรควรดูเวลาทั้งหมดที่ทำได้ 
อย่างยาง กำไรที่ทำได้ คือ ช่วงเวลาที่กีดยางได้ ส่วน BV จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามขนาดต้น 

ไม่แนะนำ PE เพราะตลาดมองสั้นๆ 
DCF จะดีกว่า แต่เปลี่ยนแปลงได้ง่ายแล้วรุนแรง ถ้าตัวแปรคลาด
มือใหม่ควรจะฝึกทำให้เป็น
PE สูงเมื่อกำไรในอนาคตสูง กระแสเงินสดที่หาก็จะได้สูงด้วย
บริษัทที่ใช้เงินลงทุนน้อย ดีกว่า 
PE ที่สูงจะทำให้ผลตอบแทนต่ำ
การลดภาษี
การลดดอกเบี้ย (อันนี้บอกยาก)

การค้นหาหุ้นเติบโต
  • เป็นตัวของตัวเองเวลาหา ฝืนกระแสสังคม 
  • อยู่ในอุตสหากรรมใหม่ๆ ที่ต่างประเทศมีแล้ว แต่เรายังไม่มี
  • อยู่ในอุตสหกรรม เก่าแก่ แต่พฤติกรรมมนุษย์เปลี่ยน เช่น เครื่องประดับ ขนมปัง
  • กำไรในงบการเงิน (คมมักดูกำไรสุทธิ)
  • หุ้นปั่น บางครั้งเป็นหุ้นเติบโต 
  • ค้นหา Super stock ที่ยังไม่มีใครเห็น
ความเสี่ยง
  • ซื้อหุ้นที่แพงเกินไป
  • เติบโตเร็วจนคุณภาพไม่มี เช่น คนงานต่างๆ
  • ตลาดหมี (ตลาดกด PE)
การมองจุดซื้อขาย
พยายามมองเป็นช่วงๆ อย่ากำหนดจุด จำลองเหตุการณ์ต่างๆ

มอง ทางออก ก่อน ทางเข้า

เวลาซื้อขาย ซื้อเพราะเติบโต ขายเพราะ ไม่โต แพง แล้ว เจอตัวใหม่ที่ดีกว่า

Mr,market 
  • อย่าประมาณนายตลาด
  • ระวัง EMH อย่ามองว่าราคาถูกมาแล้ว อีกนาน
  • กำไรระยะสั้น ยาว
  • ตลาดมักมีจุดบอดเสมอ มักมีหุ้นที่ถูกมองข้ามเสมอๆ
เรื่องของจิตใจของมนุษย์
ลักษณะของมนุษย์ 
เวลาตัดสินใจอะไรไวๆ มักใช้สัญชาติยานเอาตัวรอด แต่การซื้อขายหุ้น ต้องตัดสินใจโดยใช้เหตุและผล

Bias 
  • มั่นใจมากไป
  • การคิดย้อนหลัง แล้วคิดว่าทำนายอนาคตได้
  • เทียบตัวเลขในอดีต
  • การไปตามฝูงชน 
  • กลัวการขาดทุน กำไรรีบขาย แต่ขาดทุนถือยาว
คำแนะนำ
  • ไม่ต้องเผ้าจอ ไม่ตามข่าว ไม่เชียร์
  • เป็นนักฟังที่ดี
  • อ่านแล้ววิเคราะห์
  • เป็นนักเขียน ที่มีเหตุผล มีหลักฐาน
  • ฟังอ่าน หาข้อมูล คิด วิเคราะ เขียน พูดให้คนอื่นฟัง
  • มีสติ อย่าหงุดหงิด เวลาคนอื่นมาวิจารย์หุ้นเรา
  • อ่านแรงจูงใจของคนต่างๆให้ได้ 
  • เล่นหุ้นให้สนุก มีความสุข
  • มีวินัยการลงทุน
  • ชัดเจนใช้ได้จริง
  • เข้าใจหลักการ ราคาหุ้น ใช้ได้จริง
  • ประเมิน จดบันทึกทุกครั้ง 
  • ผลตอบแทนย้อนหลังเป็นอย่างไร
  • ต้องมีความรัก มีการฝึกฝน 
  • เมื่อมีความรู้แล้ว อย่าลืมแบ่งปัน
ขอบคุณ สำหรับความรู้ทั้งหมดนี้ 

อาจจดผิด ขาดๆ เกินๆ เหมือนสมองผม ก็ขออภัยด้วยนะครับ


-----------------------------------------------------------------------------------------
 ส่วนนึงจากเวปของคุณก๊อบครับ
http://pongsakorne.blogspot.com/
post by
______________________________________________________

สรุปเนื้อหาคอร์สการลงทุนของผม (ตอนที่ 2/2 ตอนจบ)
วันนี้มาว่ากันต่อเรื่องกรอบแนวคิดหลักในการลงทุนของผมนะครับ
แต่ก่อนจะเข้าสู่เนื้อหาเรื่องหุ้น ผมจะขอบอกกล่าวสำหรับผู้สนใจอยากเรียนสักเล็กน้อย

วิธีการใช้ประโยชน์จากบทความนี้
การ อ่านบทความ สรุปเนื้อหาคอร์สการลงทุนของผม เพื่อนๆจะได้ภาพในมุมกว้างที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน รวมถึงประเด็นสำคัญในหัวข้อนั้นๆ ถ้าเพื่อนๆสนใจศึกษาต่อให้ลึกขึ้น ผมแนะนำว่า

- กรณีที่เพื่อนๆต้องการศึกษาด้วยตนเอง เนื่องจากติดธุระ ไม่ว่าง หรือผมอาจจะไม่ว่างสอนเพราะงานประจำเยอะ (ช่วงนี้เริ่มมีสอบเยอะขึ้นเรื่อยๆ ไหนจะงานวิจัยอีก T_T) ขอให้อ่านหนังสือและศึกษาลงลึกด้วยตนเองตามประเด็นที่ผมเขียนไว้ (เวลาผมสอนก็จะพูดตามที่ short note ไว้ในบทความนี่ล่ะครับ) และถ้ามีคำถามสามารถโพสถามได้ทั้งใน blog และ/หรือบน wall ของ facebook ครับ (วิธีนี้น่าจะง่ายที่สุด)
- กรณีที่เพื่อนๆต้องการเรียนกับผมและไม่ต้องการรอให้คนลงชื่อเกิน 5 คน (เพราะผมจะสอนเมื่อเกิน 5 คนขึ้นไป และเพื่อนๆอาจจะรอนานเพราะ blog ตอนนี้ยังไม่ได้เป็นที่รู้จักมากนัก) ขอให้เพื่อนๆรวบรวมคนที่อยากเรียนมาเองและลงชื่อว่า”ครบ” แล้วไว้ใน blog และ/หรือบน wall ของ facebook ได้ครับ
- กรณีที่มีเพื่อนๆลงชื่อใน blog และ/หรือบน wall ของ facebook ว่า ”สนใจ” ครบ 5 คน ผมจะกำหนดวันสอนล่วงหน้านะครับ

ส่วน สถานที่ผมจะนัดเป็น ห้องสมุดมารวยที่สาขาเอสพลานาดรัชดาภิเษก วันอาทิตย์เวลาเที่ยงตรง (แต่ไม่แน่ใจว่าจะมีเก้าอี้ว่างหรือเปล่า...เพราะผมก็ไม่มีสถานที่ส่วนกลาง เหมือนกัน หรือไม่งั้นก็ต้องเป็นโรงอาหารตามมหาลัยที่โต๊ะว่างๆ)

ส่วน ถ้าเพื่อนๆคนไหนมีสถานที่รวมถึงมีคอมพิวเตอร์แล้วต้องการให้ผมไปสอนถึงที่ ขอให้เป็นที่ที่ผมสามารถเดินทางโดยรถไฟฟ้าได้ และถ้าเป็นหน่วยงานหรือองค์กรขนาดใหญ่ขอใช้เปิดห้องประชุมสอนจะดีมากครับ (ผมว่างวันอาทิตย์)

ทั้งนี้เพื่อที่ผมจะสามารถสอนฟรีได้ ไม่อยากให้เกิดค่าใช้จ่าย เพื่อให้ทุกคนมีโอกาสในการเข้าถึงความรู้แบบเท่าเทียมกัน โดยที่ผมเสียสละแรงกายและเวลาแล้วเพื่อนๆได้ประโยชน์ก็โอเคครับ :D

ความคาดหวังของผม

ผม ไม่ได้ต้องการให้ทุกคนที่เรียนเล่นหุ้นเป็น แต่ต้องการให้รู้ว่าจะสร้างความมั่งคั่งทางการเงินให้กับตนเองได้อย่างไร มีทางไปทางไหนบ้าง ต้องปรับทัศนคติและเรียนรู้วิธีการตั้งแต่ขั้นพื้นฐานขึ้นไป

อยากให้ เลิกคิดว่าคนจะรวยได้ต้องมีบุญวาสนา ต้องเกิดมาโชคดี เพราะมันไม่จริงเลยครับ ทุกอย่างสร้างได้ด้วยการกระทำที่เกิดจากทัศนคติที่ถูกต้อง

รวมถึง ต้องการให้ทุกคนมีทัศนคติของการให้ เนื่องจากทุกคนที่เข้ามาในตลาดหุ้นต่างมาหากำไรทั้งสิ้น พูดง่ายๆคือมาเอา เราจะไม่ต่างจากคนทั่วไปเลยถ้าเราไม่รู้จักการให้การแบ่งปันผู้อื่น เมื่อใจเราลดความโลภลงจากการให้และลงทุนโดยใช้สติและปัญญา มองตามข้อมูลตามเหตุผลตามข้อเท็จจริง เราจะแตกต่างจากนักลงทุนส่วนใหญ่ในตลาด และนั่นทำให้เราประสบความสำเร็จในการลงทุนครับ

ถ้าคนที่ผมสอนแล้ว เล่นหุ้นเป็น (หมายถึงคนที่มีวิจารณญาณ คิดเองเป็น มีเหตุผล และมีความคิดสร้างสรรค์) และถึงขึ้นเล่นเก่งได้ผมจะดีใจมาก แต่ผมคาดหวังแค่สอนซัก 100 คนมีอย่างนี้สักคนก็ดีใจแล้วครับ

เอาล่ะ...มาว่าเรื่องเนื้อหากันต่อนะครับ

การบริหารการเงินส่วนบุคคลและการลงทุน

ต่อจากหัวข้อสินทรัพย์ต่างๆที่สำคัญ ในครึ่งหลังของการบรรยายจะพูดเรื่องการลงทุนในหุ้นนะครับ

11. หุ้น

(ผมจะพูดถึงการลงทุนในหุ้นในแนวปัจจัยพื้นฐานนะครับ อาจจะมีพูดถึงเทคนิคอลบ้างแต่ผมรู้น้อยมากครับ)

11.1 ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับหุ้น
- ซื้อหุ้นด้วยมุมมองของการซื้อธุรกิจ หุ้นไม่ใช่แค่เศษกระดาษ มีคนทำงานอยู่จริงๆ
- ผู้ถือหุ้นคือเจ้าของธุรกิจ (ตามสัดส่วนการถือหุ้น)
- คนรวยในโลกส่วนใหญ่รวยจากหุ้น ไม่ว่าจะเป็นนักธุรกิจที่เอากิจการเข้าตลาด หรือนักลงทุนอาชีพที่ไม่ได้ทำธุรกิจเอง
- หุ้นต่างกับสินทรัพย์อย่างอื่น คือหุ้นสามารถทำกำไรและสร้างกระเงินสดได้ ถ้าเป็นพวกทองคำหรือที่ดินต้องให้คนมาสนใจและร่วมกันตีมูลค่าให้สูงขึ้น
- ระยะยาวตลาดหุ้นกำไร 10% ต่อปี (กรณีเล่นกองทุนดัชนีก็เป็นทางเลือกนึงที่น่าสนใจมาก)
- หุ้นดูง่าย เปิดบัญชีซื้อขาย ใครก็ทำได้ แต่อะไรดูเหมือนยิ่งง่ายนี่แหละครับยิ่งยาก เหมือนหมากล้อม กติกาสุดง่าย เล่นจริงยากมาก ใช้เวลาทั้งชีวิตก็เรียนรู้ไม่หมด ตลาดหุ้นไม่ง่ายครับ การทำกำไรให้ชนะตลาดหลายปีติดต่อกันเป็นเรื่องที่ยากมาก

11.2 ก่อนเล่นหุ้นพิจารณา
- 1.) เงินที่ลงทุนเป็นเงินเย็น ไม่มีความเร่งรีบในการใช้ในช่วง 3 ปี และมีเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินอย่างน้อย 6 เดือน (เงินทั้ง 2 ก้อนมาจากเงินออม)
- 2.) มีบ้าน (ถึงเจ๊งหุ้นก็ยังมีบ้านอยู่)
- 3.) หาความรู้เพื่อที่จะประสบความสำเร็จในการลงทุน

11.3 การจะลงทุนในหุ้นต้องพิจารณา 4 ปัจจัย
- 1. Stock selection
- 2. Market or Stock timing
- 3. Portfolio management
- 4. Psychology

Stock selection

1. การ approach หุ้น
- มี 2 วิธี 1. Top down 2. Bottom up
- Top down – มองจากภาพรวมของระบบเศรษฐกิจ เลือกกลุ่มอุตสาหกรรมและเลือกบริษัทที่น่าจะได้ผลตอบแทนคาดหวังสูงสุดใน สภาวะเศรษฐกิจในขณะนั้น
- Bottom up – มองจากบริษัทที่เราเข้าใจหรือสนใจ แล้วดูว่าบริษัทนั้นจะได้รับการกระทบอย่างไรในสถานการณ์เศรษฐกิจโดยรวมใน ปัจจุบันและอนาคตข้างหน้า

2. หุ้น 6 ประเภท
- Peter lynch เซียนหุ้นระดับโลก ได้แบ่งบริษัทต่างๆ ในการลงทุนได้ 6 ประเภทหลักๆ ดังนี้
1. หุ้นโตช้า (Slow growers) การเติบโตของกำไรจะสูงกว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเล็กน้อย ประมาณ 2-4% ต่อปี ให้ซื้อที่ PE ต่ำและหวังปันผลเป็นหลัก
2. หุ้นแข็งแกร่ง (Stalwarts) บริษัทที่แข็งแกร่งมีอัตราการเติบโตประมาณ 10 - 20% ต่อปี เหมาะที่จะถือระยะยาว
3. หุ้นโตเร็ว (Fast growers) บริษัทขนาดเล็กขนาดกลางที่มีอัตราการเติบโตที่สูงมากประมาณ 20 -25% ต่อปี เป็นหุ้นที่เหมาะจะถือในระยะยาว
4. ประเภทขึ้นลงตามวัฎจักร (Cyclicals) บริษัทที่กำไรขึ้นลงตามสภาวะเศรษฐกิจ
5. ประเภทเริ่มฟื้นตัว (Turnarounds) บริษัทที่ประสบปัญหา แต่มีสัญญาณแห่งการฟื้นตัวที่ชัดเจน
6. ประเภทสินทรัพย์แฝง (Asset plays) บริษัทที่ราคาหุ้นต่ำกว่ามูลค่าของสินทรัพย์ หรือมูลค่าตามบัญชีที่เราทราบแต่อีกหลายคนในตลาดยังไม่ทราบ เช่น ที่ดินที่มีอยู่อาจมีมูลค่าตลาดสูงมาก แต่บันทึกบัญชีเป็นราคาทุน หรือในบริษัทประกันภัยที่ตั้งสำรองเงินประกันสูงๆ

3. การประเมินมูลค่าหุ้น
มีความสำคัญ ให้เลือกหุ้นที่ราคาตลาดต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง มี margin of safety และมี upside ให้ทำกำไร

วิธีการประเมินมูลค่าหุ้น
1. P/E Ratio ดูความสามารถในการทำกำไรเป็นหลัก
2. P/BV ดูสินทรัพย์ที่มีอยู่เป็นหลัก
3. DCF ดูกระแสเงินสดในอนาคตที่ทำได้เป็นหลัก
4. P/E/G ดูการเติบโตของกำไรเป็นหลัก
5. ดู Market caps ดูขนาดของบริษัทเป็นหลัก

4. หลักการดูหุ้นเติบโต
- 1. Demand trend แนวโน้มความต้องการสินค้าและบริการสูงขึ้น (ตลาดรวมโตขึ้น)
- 2. DCA (Durable competative adventage) ความสามารถในการแข่งขันระยะยาว (รักษาและชิงส่วนแบ่งการตลาดได้มากขึ้น)

Demand trend
แนวโน้มความต้องสินค้าและบริการในภาพใหญ่ระดับประเทศระดับโลกจะล้อไปตาม Megatrend

แนวโน้มธุรกิจในอนาคต
1. Aging economy สังคมคนแก่ โครงสร้างประชากรเป็นพีรามิดหัวกลับ เด็กน้อยลงต้องทำงานเลี้ยงดูคนแก่มากขึ้น
2. Female economy สังคมผู้หญิง ผู้หญิงรายได้เพิ่มมีบทบาทในสังคมและครอบครัวมากขึ้น
3. Raising of China การเติบโตของประเทศจีนและประเทศในแถบเอเชีย
4. Urbanization การที่มนุษย์เข้ามาอยู่อาศัยในเมืองมากขึ้น
5. คนแต่งงานลดลง มีลูกน้อยลงแต่เลี้ยงดีขึ้น ให้การศึกษาลูกอย่างดี
6. Energy and Green energy พลังงานและพลังงานทางเลือก
7. Modern trade พ่อค้าคนกลางยุคใหม่
8. Internet, Social network, E-commerce คนใช้เวลากับอินเตอร์เนตมากขึ้น
9. Transport การขนส่ง เนื่องจากการเกิด FTA เขตการค้าเสรี ไม่มีการตั้งกำแพงภาษี การเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการทำได้อย่างอิสระ ต้นทุนที่เกิดคือค่าขนส่ง
10. Food ประชาการโลกอยู่ดีกินดีขึ้น มีแนวโน้มบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากขึ้น
11. การเพิ่มขึ้นของชนชั้นกลาง เมื่อเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาดีขึ้น ผู้คนอยู่ดีกินดี สินค้าและบริการเพื่อความบันเทิง ท่องเที่ยว สุขภาพ จะมีแนวโน้มเติบโตสูงขึ้น
12. Investment ผู้คนหันมาสนใจการลงทุนมากขึ้น, การทำงานแบบเข้าออฟฟิตลดลง ทำงานที่บ้านแบบออนไลน์

DCA (Durable competative adventage)
-การประเมินความสามารถในการแข่งขันของบริษัท โดยการใช้ 5 forces ร่วมกับ SWOT analysis

1. Michael E. Porter's five forces
ศ. พอร์เตอร์แห่ง ม. ฮาวาร์ด ได้พูดถึง แรงทั้ง 5 ที่ส่งผลต่อการทำกำไรของบริษัท และอุตสาหกรรมโดยรวม
a framework for the industry analysis and business strategy development
1. The threat of the entry of new competitors การเข้ามาแข่งขันของผู้เล่นรายใหม่
2. The intensity of competitive rivalry การแข่งขันภายในอุตสาหกรรม
3. The threat of substitute products or services สินค้าทดแทน
4. The bargaining power of customers (buyers) อำนาจการต่อรองจากลูกค้า
5. The bargaining power of suppliers อำนาจในการต่อรองจากซัพพลายเออร์

2. SWOT analysis
การวิเคราะห์บริษัทสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอกและสภาพแวดล้อมภายใน
- Strengths จุดแข็ง
- Weaknesses จุดอ่อน
- Opportunities โอกาส
- Threats ความเสี่ยง

โดย จุดอ่อนจุดแข็ง เป็นการมองจากปัจจัยภายในของบริษัท โอกาสและความเสี่ยงเป็นการมองสภาพแวดล้อมภายนอก ให้วิเคราะห์ว่าบริษัทจะกลยุทธ์ในการแข่งขันหรือแนวทางใด ที่ใช้จุดแข็งคว้าโอกาส และป้องกันจุดอ่อนจากความเสี่ยง

5. ปัจจัยที่ Drive ราคาหุ้น
ถ้าไม่มีตัวขับดันราคา ราคาก็จะต่ำกว่ามูลค่าไปตลอด การพิจารณาปัจจัยขับดันราคาจึงเป็นสิ่งจำเป็น
- ผลประกอบการณ์ดีขึ้น กำไรเพิ่มขึ้น (ถ้าดีกว่าคาดยิ่งดี)
- ปันผลมากขึ้น
- Structural change เช่น ขายบ.ที่ขาดทุนออก การควบรวมกิจการ การลดต้นทุนการผลิต à ทำให้มีกำไรเพิ่มขึ้น
- แตกพาร์
- ถูก Tender offer โดยสูงกว่าราคาตลาด

6. การเลือกตัวหุ้นของผม
- เลือกหุ้นจากชีวิตประจำวันโดยดูว่าสินค้าอะไรมาแรงและขายดี
- ผู้คนใช้จ่ายเงินไปกับอะไรบ้าง
- พฤติกรรมผู้บริโภคที่พบเห็น
- จัดหุ้นให้เป็นหมวดหมู่ แล้วเปรียบเทียบ
- คุยกับคนที่รู้เรื่องสินค้าหรือธุรกิจนั้นๆ
- ใช้จินตนาการมองไปในอนาคต

การเลือกหุ้นของผม (แบบละเอียด)
- อ่านรายงานประจำปี, แบบ 56-1, งบการเงินรายไตรมาสและปี
- ข้อมูลซื้อขายของผู้บริหาร (ซื้อ)
- บริษัทนี้จัดเป็นหุ้นแบบใดใน 6 แบบ
- เจาะตัวเลขที่สำคัญ ROA, ROE, Net profit margin, EBITDA, Gross profit margin, Cash, Free cash flow, D/E ratio etc. (เรื่องบัญชีงบการเงินจะต้องแยกพูดอีกบทความต่างหากเลยครับ โดยส่วนใหญ่ผมจะเลือกหุ้นโดยใช้ข้อมูลปัจจัยพื้นฐานมากกว่าน่ะครับ แล้วค่อยตรวจสอบด้วยงบการเงิน)
- เพดานการเติบโตของรายได้อยู่ที่เท่าไร บริษัทใช้กลยุทธ์ใดในการเติบโต
- จุดเด่นของบริษัทนี้คืออะไร (DCA = Durable competative adventage)
- อะไรจะเป็นตัว Drive ราคาหุ้น
(ปล. ไม่มีข้อไหนที่บอกว่าซื้อตามเซียนนะครับ)

7. การวิเคราะห์หุ้น
- หาข้อมูลของบริษัทที่เราสนใจ
- ประเมินปัจจัยเชิงคุณภาพ
- ประเมินปัจจัยเชิงปริมาณ
- ประเมินมูลค่าของหุ้นตัวนั้นในเวลาที่เรามองออก เช่น 3-5 ปี เป็นต้น

ทั้ง หมดคือหัวข้อการเลือกหุ้นนะครับ (Stock selection) บางคนเล่นง่ายข้ามขั้นตอนที่ยากลำบากนี้ไปโดยซื้อตามเซียน คอยถามพอร์ตชาวบ้าน เป็นสิ่งที่ผมไม่สนับสนุนเลยครับ ผมอยากสอนให้จับปลาเองเป็นมากกว่า อย่าดูถูกศักยภาพตัวเองเลยครับ ผมเล่นมา 2 ปียังทำได้ เพื่อนๆก็ต้องทำได้เหมือนกัน

แต่การเลือกหุ้นนั้นไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างของการเล่นหุ้น Stock selection isn’t everything.

Market timing / Stock timing

การเลือกหุ้นถูกตัว(ซึ่งอาจจะไปลอกเค้ามา) แต่ไม่มีจังหวะซื้อขายที่ถูกต้องจะทำให้กำไรลดลงหรือถึงขั้นขาดทุนได้

หลักในการมองจังหวะซื้อขายนะครับ
- ซื้อเมื่อคนอื่นกลัวขายเมื่อคนอื่นโลภ ให้คิดต่างจากคนส่วนใหญ่
- ซื้อเมื่อราคาถูกและมี MOS มากพอ ขายเมื่อราคาเต็มหรือเกินมูลค่า
- ซื้อตอนคนคาดหวังน้อยๆ ให้ระวังตอนที่คนคาดหวังมากๆ
- ซื้อตอน Downside น้อย Upside มาก, ขายตอน Upside น้อย Downside มาก

การ ดู Fund flow, Technical (ผมดู Fund flow บ้าง เช่น เรื่อง Spread ดอกเบี้ยระยะยาว-สั้น, real interest rate, earning yield gap แต่เทคนิคอลผมไม่ได้ดูเลย ผมคิดว่าเป็นเครื่องมือที่ดีในการช่วยบอกจังหวะซื้อขายได้ ถ้ามีความชำนาญ)

การซื้อขาย
- Bid (การซื้อ)
- ซื้อทีละน้อยก่อน + มี limit ว่าซื้อเก็บถึงราคาเท่าไร
- ซื้อตอนราคานิ่งๆ ไม่ใช่ช่วงที่ราคาเคลื่อนไหวรุนแรง
- ซื้อตอนคนคาดหวังน้อยๆ
- พยายามไม่ซื้อถัวเฉลี่ยขาลง ยกเว้น ประเมินมาอย่างดีแล้ว

- Offer (การขาย)
- ขายเมื่อเต็มมูลค่าหรือเกินมูลค่า
- ขายตอนประเมินพื้นฐานผิด
- ขายถ้าเห็นว่าลงแรงและมี downside มากกว่าราคาตลาด
- ขายถ้าหากมีตัวอื่นที่ upside สูงกว่า

Portfolio management

การ เลือกหุ้นถูกตัวและจังหวะซื้อขายถูกต้อง ยังไม่ใช่ทั้งหมดของการเล่นหุ้น มีคนมากมายที่ซื้อถูกตัวจังหวะซื้อขายดี แต่ทำกำไรโดยรวมของพอร์ตได้น้อยหรือขาดทุนเพราะตัวที่ควรซื้อกลับซื้อน้อย แต่ดันซื้อตัวที่ขาดทุนไว้มาก ทำให้ผลตอบแทนแย่ ต่างกับคนที่บริหารพอร์ตได้ดีผลตอบแทนจะสูงขึ้นมาก

1. หลักการทั่วไปของการบริหารพอร์ต
- รักษาสมดุลของการถือเงินสดกับการถือหุ้น
- การกระจายความเสี่ยงอย่างเหมาะสม ถือกระจายความเสี่ยงไปหลายๆอุตสาหกรรม
- ระวัง...กระจายความเสี่ยงหรือกระจายความเสียหาย ให้ทุกบริษัทต้องเป็นการลงทุนที่ดี ไม่ใช่กระจายเพราะตำราบอกให้กระจาย
- โดยมากถือกระจายความเสี่ยง 5-10 ตัว ไม่มากจนไม่เข้าใจบริษัทที่ลงทุน ไม่น้อยจนเสี่ยงเกินไป
- ถือหุ้นตัวนี้เป็นกี่ % ของพอร์ต มั่นใจมากถือถือมาก มั่นใจน้อยถือน้อย ไม่มั่นใจเลยก็ไม่ต้องซื้อ
- ทำให้ผลตอบแทนดีขึ้นผิดหูผิดตาเลยครับ

2. หลักการ Portfolio management
- ใช้ Kelly’s formula
- ดู downside ว่าอยู่ที่เท่าไร Probability กี่% ดู upside ว่าอยู่ที่เท่าไร Probability กี่ % แล้วคิดรวมออกมาเป็น Expected profit ว่าควรจะ bet เป็นกี่ % ของ port

3. การปรับพอร์ต
- ให้สัดส่วนพอร์ตเป็นไปตาม Expected profit
- ถ้าสัดส่วนเปลี่ยนไป ขายตัวที่ expect profit น้อยมาซื้อตัวที่ expect profit มากกว่า
- ได้กำไรเพิ่ม มากกว่าการถือหุ้นไว้เฉยๆ

ระวัง!!!
-ตัวเลขในพอร์ตเปลี่ยนแปลงได้ตามข้อมูลใหม่ๆ เช่น Target price
- วิเคราะห์แต่ละตัวเป็นอย่างดี (ไม่อย่างนั้นวิธีนี้จะไม่มีประโยชน์เลยครับ)
- ลืมต้นทุนไป ให้เปรียบเทียบราคาตลาดกับราคาเป้าหมาย
- บางทีอาจจะพลาดได้ถ้าขายแล้วตัวที่ขายขึ้นต่อ หรือตัวที่ซื้อแล้วลงต่อ (ต้องวิเคราะห์แต่ละตัวเป็นอย่างดี)

Psychology จิตวิทยาการลงทุน

มี คนมากมายที่วิเคราะห์ได้ถูกต้อง เลือกหุ้นได้ถูก วางแผนและบริหารพอร์ตได้ดี แต่กลับหวั่นไหวไปตามตลาดและทำไม่ได้ตามแผนที่วางไว้ ถูกความโลภและความกลัวเข้าครอบงำ ทำให้ผลตอบแทนไม่ดีเท่าที่ควรหรือถึงขั้นแย่ ยกกรณีศึกษา อัจฉริยะนิวตัน

การตัดสินใจอย่างมีเหตุผล มองตามความจริง ช่วยเพิ่มผลตอบแทนได้มาก ซึ่งเป็นสิ่งที่ฝึกฝนกันได้ !!!

การฝึกพัฒนาจิตสำหรับนักลงทุน
-ให้มองโลกตามความจริง ลด bias ลง
Bias (Cognitive error) ที่สำคัญ
1. Overconfidence เชื่อมั่นในตนเองมากเกินไป
2. Loss aversion กลัวขาดทุน กลัวกำไรหาย
3. Hindsight bias มองย้อนหลัง
4. Selective bias มองแค่ด้านเดียว
5. Anchoring การยึดติด

ฝึกได้โดย
- มีสติสมาธิให้มากขึ้น, ฝึกอ่านอารมณ์ตัวเองให้ออก, อ่านอารมณ์ตลาด
- อย่าไปยินดียินร้ายมาก, หุ้นขึ้นแรงก็ดีใจนิดหน่อย หุ้นลงแรงก็เสียใจนิดหน่อย ให้มองไปที่พื้นฐานกิจการ การผันผวนในช่วงสั้นๆ ไม่มีผลกับนักลงทุนระยะยาว
- Focus ที่กิจการมากกว่าราคาหุ้น, อย่าดูราคาบ่อย อยู่ห่างๆจอหุ้นบ้าง
- อย่าหลอกตัวเองเพราะ sense การรับรู้ความจริงจะถูกบิดเบือนไป

เมื่อจิตใจเราพัฒนาขึ้น จะทำให้ผลตอบแทนดีขึ้นมาก เพราะไม่ถูกปั่นหัวด้วยความโลภและความกลัว ไม่หลงไปกับอคติ

ทั้ง 4 ปัจจัย Stock selection, Timing, Portfolio management, Psychology ต่างก็เป็นปัจจัยที่สำคัญไม่แพ้กันในเรื่องการลงทุนในหุ้น

กฏพื้นฐานของการลงทุน
-ข้อ ที่ 1 อย่าขาดทุน ข้อที่ 2 ให้ไปดูข้อแรก เพราะการขาดทุนจะทำให้ผลตอบแทนแย่ในระยะยาว ถึงแม้ว่าจะได้เคยกำไรมากๆก็ตาม ดังนั้นให้ดู downside ด้วยเสมอ
- แต่จริงๆแล้วไม่มีใครไม่เคยขาดทุน เพียงแต่เราต้องขาดทุนให้น้อย แต่ตอนกำไรต้องให้มาก ไม่ได้ให้สอนให้เพื่อนใช้ความโลภนำหน้า แต่ต้องใช้กลยุทธ์ที่เหมาะสมตามจริง
- อย่าถอนดอกไม้แล้วรดน้ำให้หญ้า, อย่าขายหมูไปซื้อควาย…Cut loss and let profit run !!!
- เมื่อคิดผิดต้องยอมรับว่าเราผิดให้เร็ว...แล้วรีบแก้ไขเสีย อย่าเถียงหรือเอาชนะคะคานแบบไร้เหตุผลหรือหลอกตนเอง

ก่อนจะลงทุนให้ถามตัวเองว่า...
- เราจะลงทุนอะไร...เพราะอะไร...นานแค่ไหน...จำนวนเงินเท่าไร...คิดเป็นกี่ เปอร์เซ็นต์ของport...จะเข้าตอนไหน...เพราะอะไร...จะขายตอนไหน...เพราะ อะไร...มีความเสี่ยงอะไรบ้างที่จะลงทุน...ปัจจัยอะไรบ้างที่จะทำให้ราคา ขึ้น...ปัจจัยอะไรบ้างที่จะทำให้ราคาลง...ถ้าเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดมีแผน รับมืออย่างไร...?

ทัศนคติเรื่องความล้มเหลว
- ความล้มเหลวคือบันไดของความสำเร็จ อย่าหยุดฝันอย่าหยุดพยายาม
- ในรร.บทเรียนมาก่อนแล้วจึงมีการทดสอบ...ชีวิตจริงบททดสอบมาก่อนแล้วจึงได้บท เรียนตามมา อย่าปล่อยบทเรียนให้ผ่านไป เรียนรู้จากทั้งความผิดพลาดและความสำเร็จ
- “จดบันทึกความผิดพลาดและเรียนรู้”
- เรียนรู้จากความล้มเหลวของคนอื่น

ผลตอบแทนที่คาดหวังได้
- 10% ต่อปี สำหรับกองทุนดัชนี
- เซียนระดับโลกได้โดยเฉลี่ย 15 - 30% ต่อปี
- คนพอร์ตเล็กน่าจะทำได้ 30% ต่อปี...

สุดท้ายผมฝากไว้ว่า...

ตลาด หุ้นคือแหล่งรวมคนเก่งคนประสบความสำเร็จจากทุกสาขาอาชีพ...มีผู้เล่นหลัก ทั้ง 4 ที่ร้ายกาจ (ฝรั่ง กองทุน proprietary trader เซียนหุ้นรายย่อย) เราเป็นแค่นักลงทุนตัวน้อยๆเมื่อเทียบกลับตลาดทุนอันกว้างใหญ่ไพศาล ขอให้พัฒนาตนเองอยู่เสมอ ไม่ประมาท

โลกของการลงทุนไม่ง่ายแต่ก็ไม่ยากเกินไปสำหรับคนที่มีความพยายามครับ
________________________________________________________________________
  จาก Facebook
คำถาม

ถ้าเป็นไปได้อยากให้คุณหมอช่วยแบ่งปันประการณ์ในส่วนที่ประสบความสำเร็จและในส่วนที่ผิดหวังจากการลงทุนด้วยครับ
ขอรบกวนถามคำถามตามข้อหัวข้างล่างนะครับ

1.ปัจจัยอะไรที่ทำให้เริ่มมองบริษัทนั้น หรืออะไรที่ทำให้ไปสะดุดเห็นบริษัทนั้นครับ

2.ควรทำDCA และ SWOT อย่างไรครับเพื่อเราจะไม่ bias ในบริษัทนั้นๆควรจะเปรียบเทียบกับบริษัทอื่นๆที่ทำธรุกิจคล้ายกันด้วยไหมครับ

4. ข้อมูลอะไรบ้างในการเปรียบเทียบกับค

ู่แข่งครับและปัจจัยอะไรที่ทำให้คุณหมอถึงมั่นใจมากๆในบริษัทนั้นครับ

3.หาข้อมูลรายละเอียดในด้าน ต่างๆอย่างไรครับต้องการ forecast บริษัทไปอีก 3-5 ปีและปัจจัยที่สำคัญควรคำนึงอะไรบ้างครับ

5. ต้องทำการเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรมอื่นก่อนลงทุนในบริษัทนั้นๆไหมว่าให้ผลตอบแทนที่มากกว่า รึเราควรลงทุนในส่วนที่เราสนใจก็พอครับ

6. ทำ valuation ของบริษัทอย่างไรครับและใช้ช่วงเวลาเท่าไรครับ ปกติคุณหมอใช้ MOS เท่าไรในแต่ละอุตสากรรมครับ แต่ถ้าเป็นพวกบริษัทที่มี growth สูงน่าจะมี mosน้อยรึเปล่าครับ

7. จังหวะเข้าซื้อควรมีการซื้อทันทีหรือว่าควรใช้ technical ช่วยครับ หรือว่าควรรอปัจจัยหนุนอื่นๆครั

8.จังหวะออกก็ต่อเมื่อบริษัทหยุดเติบโตหรือพื้นฐานเปลี่ยนใช่ไหมครับ แล้วควรใช้เวลาเป็นเงื่อนไขด้วยไหมครับ อย่างเช่นลงทุนผ่านมา 1 ปีทุกอย่างเป็นไปตามขาดแต่ Mr.Market ก็ยังมองไม่เห็นคุณค่า คุณหมอเห็นว่าอย่างไรดีครับ

ก๊อบตอบ :

ในเรื่องของการแบ่งปันความสำเร็จและความล้มเหลวจาก Case study การลงทุนจริงหุ้นจริงเป็นเรื่องที่ผมจะต้องพิจารณาให้ดีก่อนครับ เพราะอาจจะดูเหมือนการเชียร์หุ้นหรือทุบหุ้นได้...แม้ว่าผมจะไม่เคยมีเจตนาอย่างนั้นแม้แต่เพียงเสี้ยวเดียวของความคิด ...ซึ่งผมเองพยายามจะปิดโอกาสที่จะเกิดด้วยการเตือนผู้อ่านก่อนเข้าเนื้อหาของการวิเคราะห์เสมอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความผิดพลาดหรือความสำเร็จ ผมเข้าใจว่าคนที่มีฝีมือและตัดสินใจด้วยตนเองอยู่แล้วอาจจะรำคาญที่ผมเตือนบ่อยๆ ... เช่น "อย่าซื้อตามนะครับ" "หาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุนนะครับ" "นี่คือมุมมองของผมนะครับ"...แต่ปัญหาเกิดขึ้นได้เสมอถ้าไม่ระวัง โดยเฉพาะมือใหม่หลายคนที่คล้อยตามได้ง่าย ผมต้องสร้างรูปแบบให้นักลงทุนคิดและวิเคราะห์จากข้อมูลจริง มองทั้ง 2 ด้าน ทั้งข้อดีข้อเสียให้รอบด้าน

ในโลกของการลงทุนที่มีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง...การให้ความเห็นเกี่ยวกับการลงทุนหุ้นรายตัวต้องระมัดระวังครับ เพราะในสังคมเรามีคนมากมายที่ชอบเชียร์หุ้นที่ตัวเองถืออยู่และคนที่จ้องให้ข่าวทุบหุ้นที่ตัวเองอยากได้แต่ตลาดราคาสูงกว่าท่เขาจะยอมซื้อ กลเม็ดสกปรกในตลาดหุ้นมีมากมาย...ผมจึงพยายามที่จะให้ความรู้เพื่อให้นักลงทุนเอาตัวรอดให้ได้จากคนจำพวกนี้ครับ

แต่ยังงัยผมคงจะมีการเล่า Case study ความสำเร็จและความล้มเหลวเป็นระยะอย่างระมัดระวังครับ

ตอบคำถามนะครับ

ข้อ 1. สิ่งที่ทำให้ผมสนใจเข้าไปศึกษาคือ...ผมดูว่าบริษัทใดที่คนยังสนใจไม่มากแล้วมีโอกาสเติบโตสูงกว่าที่ตลาดคาดไว้ โดยอาจจะเป็นอุตสาหกรรมที่ค่อนข้างใหม่ในประเทศไทยแต่ประสบความสำเร็จมาแล้วจากต่างประเทศ โดยผมถือว่าในโลกของทุนนิยมโลกาภิวัฒน์...ประเทศกำลังพัฒนาจะเข้าหารูปแบบของประเทศที่พัฒนาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมมนุษย์ อุตสาหกรรมที่เติบโตหรือธุรกิจ โดยดูจากบริบทของประเทศเราประกอบครับ รวมถึงดูจาก Megatrend บางส่วนดูจากบริษัทที่ผลิตสินค้าหรือบริการที่ผมเห็นจากชีวิตจริงครับ (มีทั้ง Top - Down และ Bottom - Up ครับ)

รวมถึงถ้าพอมีเวลาว่างผมจะนั่งไล่ดูแต่ละบริษัทไปเรื่อยๆครับ

ข้อ 2. การประเมิน DCA และ SWOT ควรจะมองอย่างเป็นกลางทั้ง 2 ด้าน...ถ้าเราคิดว่าตัวเองมี Bias ที่มากและแก้ยาก ให้หานักลงทุนที่เก่งในอุตสาหกรรมที่เราสนใจ (และหวังดีกับเรา ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียจากการฝึกวิเคราะห์) ช่วยประเมินการวิเคราะห์ของเราว่ามองข้ามข้อดีหรือข้อเสียใดหรือไม่? มองข้ามระดับของผลกระทบของด้านดีหรือด้านร้ายต่อบริษัทน้อยไปหรือไม่? แต่อย่างไรก็ตามควรจะฝึกตัวเองให้มองอย่างเป็นกลางจากการมองแบบคนนอกที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัท รวมถึงเวลารับฟังข้อมูลให้ระมัดระวังถ้าผู้ให้ข้อมูลมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทครับ

การเปรียบเทียบกับบริษัทที่คล้ายกันไม่ว่าจะเป็นบริษัทในประเทศหรือต่างประเทศเป็นสิ่งที่ควรทำครับ เพราะจะทำให้เราเข้าใจอุตสาหกรรมทั้งระบบและประเมินบริษัทที่เราลงทุนได้ดีขึ้นครับ

ข้อ 3 และ 4. ข้อมูลที่เราต้องสนใจในการประเมินหุ้นเติบโตคือ...
1. ปัจจัยเชิงคุณภาพ เช่น บริษัทขายสินค้าหรือบริการอะไร...มีแนวโน้มการเติบโตของ Demand trend หรือไม่? บริษัทมีความสามารถในการแข่งขันอะไรบ้าง? บริษัทมีนโยบายและกลยุทธ์ในการเติบโตอย่างไร? เป็นต้นครับ
2. ปัจจัยเชิงปริมาณ งบการเงินที่ผ่านมาป็นอย่างไร?
- ประเมินโครงสร้างหนี้ บริษัทมีหนี้เยอะจนเป็นภาระจ่ายดอกเบี้ยและไม่มีเงินสดในการสร้างการเติบโตหรือบริษัทมีหนี้ปริมาณเหมาะสมที่นำไปใช้ในการดำเนินธุรกิจ มีเพดานในการกู้หนี้เพิ่มเพื่อขยายกิจการหรือกู้เงินจนเต็มเพดานหนี้แล้ว หนี้ที่เกิดเป็นหนี้ดีหรือหนี้เสีย หนี้ที่เกิดเป็นหนี้ที่มีดอกเบี้ยหรือไม่มีดอกเบี้ยครับ
- ประเมินเงินสดและกระแสเงินสดจากการดำเนินงานของบริษัท ว่ามีเพียงพอกับการลงทุนขยายกิจการและจ่ายหนี้หรือไม่? ประเมินกระแสเงินสดอิสระของบริษัท
- ประเมินสินทรัพย์ของบริษัทว่ามีทรัพย์สินที่ก่อให้เกิดรายได้เป็นจำนวนเท่าไร...ใช้ได้มีประสิทธิภาพหรือไม่เมื่อเทียบกับบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกัน (เช่น ใช้ตัวเลข ROA)
- ประเมินตัวเลข ROE เทียบกับอุตสาหกรรมเดียวกัน โดยดูจากทั้ง ROE ในปัจจุบันและประเมิน ROE ในอนาคตที่อยู่บนสมมุติฐานของการเติบโตครับ
- ประเมินการเติบโตของรายได้ ประเมินการเติบโตของกำไร ประเมินการเกิด Economy of scale (การใช้ Fixed cost ที่มีให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด)
เป็นต้น

3. ประเมินตัวเลขในอุตสาหกรรมโดยรวมของบริษัท เช่น มูลค่าการตลาดของอุตสาหกรรมและส่วนแบ่งการตลาดของบริษัทที่เราสนใจครับ

เวลาประเมินตัวเลขให้ประเมินเป็น Timeline ไม่ดูแบบจุดใดจุดหนึ่งของเวลา (Cross sectional) ครับ

ผมตั้งใจจะเขียนบทความเรื่องงบการเงินและตัวเลขที่ต้องติดตามระยะยาวในหุ้นเติบโตบนสุมมุติฐานของการเติบโตอยู่แล้วครับ ขอเวลาว่างอีกซักหน่อยน่ะครับ

ข้อ 5. ผมจะเปรียบเทียบกับธุรกิจอื่นในอุตสาหกรรม เดียวกันด้วยครับ (ทั้งในและต่างประเทศครับ) เพื่อเห็นภาพทั้งหมด...ทั้ง Position ของบริษัทที่เราสนใจในตลาด ภาพรวมอุตสาหกรรมและความเห็นของคู่แข่งที่มองบริษัทที่เรากำลังลงุทนอยู่ด้วยครับ ปล. บางครั้งเราอาจจะเจอโอกาสที่ดีกว่าตอนแรกจากการศึกษาหลายบริษัทที่เราสนใจครับ

ข้อ 6 ผมประเมินโดยใช้ค่า PE โดยมองจากระยะเวลาที่เรามองเห็นอนาคต ของบริษัท เช่น มองเห็น 5 ปีก็คิด Valuation แค่ 5 ปี มองเห็นปีเดียวก็คิด Valuation แค่ปีเดียวครับ บริษัทที่มี Growth สูงจะมี PE สูงๆบางทีต้องยอมลด MOS ลงบ้าง เช่น เหลือ MOS 30 เปอร์เซ็นต์ ไม่อย่างนั้นอาจจะไม่มีโอกาสได้ซื้อหุ้นเลย อย่างไรก็ตามการมี MOS เป็นเรื่องสำคัญมากครับจะได้ไม่พลาดเจ็บตัวหนักถ้าเราคิดผิดขึ้นมา ต้องกำหนด MOS ให้ชัดเจนและทำตามระบบที่ตั้งไว้ด้วยครับ

ข้อ 7 จังหวะเข้าซื้อผมไม่ได้ใช้ technical เลยครับ (เพราะดูไม่เป็นครับ) แต่จะเข้าซื้อเมื่อราคาหุ้นค่อนข้างนิ่ง ปริมาณการซื้อขายน้อย นักลงทุนส่วนใหญ่ไม่ค่อยสนใจไม่ค่อยมีใครพูดถึงครับ แต่มี growth story ที่ชัดเจนมีความเป็นไปได้สูง มี Driver สูงที่ตลาดอาจจะยังไม่รับรู้เพราะตลาดกำลังไปสนใจตัวที่วิ่งแรงๆอยู่ครับ (ตลาดเกิด Blind spot ครับ)

ข้อ 8 จังหวะออก...ต้องดูตามเหตุผลที่เข้าซื้อครับ (Entry) (ผมเขียนเรื่องนี้ไว้ในบทความ Exit strategy แล้วครับ) เมื่อเหตุผลที่เราเข้าซื้อหมดไป...ซึ่งอาจจะใช้เวลานานแค่ไหนก็ไม่รู้ เมื่อนั้นต้องขายครับ

นายตลาดจะไม่เห็นคุณค่าระยะสั้นไม่ เป็นไรครับ...สุดท้ายถ้า Behavioral trend มา, Industrial trend มา, Megatrend มา, รายได้ กำไร ปันผลของบริษัทเติบโตขึ้น, Business model ของบริษัทดีขึ้น เมื่อนั้นตลาดเห็นคุณค่าแน่นอนครับ แต่ต้องระวังเราคิดผิดด้วยนะครับ คอยตามตรวจสอบข้อมูลและตัวเลขของการเติบโตให้ดี...ถ้ายังเติบโตอยู่ก็ไม่ต้องห่วงเลยครับ

ขอบคุณสำหรับคำถามครับ


--------------------------------------------------------------------------------